หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ วางแผนดีชีวิตมีสุข

ความหมายการวางแผนครอบครัว
การวางแผนครอบครัว คือ การที่สามีภรรยาวางแผนล่วงหน้าว่าจะมีลูกเมื่อใด มีกี่คน โดยวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวไว้ในระยะต้องการเว้นระยะลูกให้ห่างและใช้วิธีคุมกำเนิดแบบถาวร การทำหมันเป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องคิดและตกลง กับสามี ภรรยา คิดร่วมกันไม่ใช่คนหนึ่งคนใดคิด หากเราไม่วางแผน เมื่อมีลูกแล้ว เราอาจจะไม่ได้ดูแลเขาอย่างเต็มที่ ชีวิตครอบครัวจะมีปัญหา ถ้าเราวางแผนครอบครัวไม่ดี เราอาจจะมีลูกมากเกินไป เราดูแลไม่เต็มที่

เราจะทำให้ครอบครัวมีความสุขได้อย่างไร
หากไม่มีลูกหล่ะ ครอบครัวเราจะเป็นอย่างไร และหากมีลูกคนเดียว จะเพียงพอหรือไม่
ลูกเป็นของขวัญ ไม่ใช่เป็นภาระ หรือห่วงผูกคอ
บางคนมีลูกหัวปี ท้ายปี จนทำให้ไม่มีเวลาในการดูแลเขาได้อย่างดี และสร้างแรงกดดัน ให้กับครอบครัวมากเกินไปและไม่ควรจะปล่อยให้มีลูก โดยที่ เราไม่วางแผน เพราะบางครอบครัว เมื่อไม่วางแผน พอมีลูก อาจจะทำให้รู้สึกขมขื่นเวลาเลี้ยงลูก เพราะสภาพไม่พร้อม เช่น ภรรยาต้องทิ้งหน้าที่การงาน มาเลี้ยงลูก หรือ อายุยังน้อยไม่พร้อมจะเลี้ยงลูก ฯลฯ

แต่ละครอบครัวมีสิ่งที่เอื้ออำนวยเลี้ยงลูกไม่เท่าเทียมกัน ไม่ควรเปรียบเทียบกันกับครอบ ครัวอื่นความจำกัด อาจจะทำให้เราเลี้ยงดูไม่ได้อย่างดีเพียงพอ เราจึงต้องวางแผน ไม่ใช่เลี้ยง ตามยถากรรม จะสร้างปัญหา ให้เกิดขึ้น ทั้งในครอบครัว สังคม ประเทศชาติ

ความสำคัญของการวางแผนครอบครัว
– ช่วยให้คู่สมรสที่เพิ่งแต่งงาน ได้มีโอกาสปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันก่อนมีลูก
– ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดี ลูกมีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูง
– คู่สมรสสามารถเว้นระยะการมีลูกหรือจำกัดขนาดของครอบครัวได้
– คู่สมรสมีโอกาสสร้างฐานะการเงินให้มั่นคงได้
– สุขภาพของผู้เป็นมารดาไม่ทรุดโทรม สามารถดูแลครอบครัวได้เต็มที่

ปัญหาของวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่ง  ซึ่งแสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายประการ เช่น  ดื้อ  ไม่เชื่อฟัง  ละเมิดกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ  มีแฟนและมีเพศสัมพันธุ์  ใช้ยาเสพติด  ทำผิดกฎหมาย  ปัญหาพฤติกรรมบางอย่างมักเกิดขึ้นมานาน จนทำให้การแก้ไขมักทำได้ยาก  การป้องกันปัญหาจึงมีความจำเป็น  และสำคัญมากกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว  การป้องกันดังกล่าว  ควรเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งแต่เด็ก  เด็กที่มีพัฒนาการของบุคลิกภาพดี   จะมีภูมิต้านทานโรคทางจิตเวชต่างๆ และช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้อย่างมากเช่นกัน  พ่อแม่และครูอาจารย์และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหลาย  จึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ สังคมและสิ่งแวดล้อมก็ควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นเช่นเดียวกัน 

วัยรุ่นกับการขาดความมั่นใจในตนเอง
คุณเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าคะที่ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง จะทำอะไรก็ต้องคอย ตามเพื่อน จะแต่งตัวก็ต้องตามแฟชั่น ไม่กล้าที่จะทำอะไรแตกต่างจากคนอื่น ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า สิ่งที่คุณอยาก ทำนั้นเป็นสิ่งดี -หรือบางทีก็ต้องจำใจทำตามเพื่อนทั้งๆ ที่รู้ว่าสิ่งที่เพื่อนทำ

วัยรุ่นกับยาเสพย์ติด

เรื่องการลองยา เสพย์ยาในหมู่วัยรุ่นเป็นเรื่องที่ฮิตมาก เป็นมาทุกยุคทุกสมัย
และผู้ใหญ่จำนวนมากทีเดียวที่มักเหมาเอาว่า เป็นเพราะความอยากรู้อยากลองและเป็น

หนีออกจากบ้าน/ไม่อยากอยู่บ้าน
วัยรุ่นหนีออกจากบ้าน / ไม่อยากอยู่บ้าน มักมีสาเหตุหลัก ๆ อย่างน้อย 2 ประการ คือ 1. บ้านไม่เป็นสุข 2. ติดเพื่อน ทางช่วยเหลือแก้ไขที่ดีก็คือ แก้ตามเหตุ 2 ประการนั้น ทั้งนี้อย่าได้ด่วนวิตก และตื่นตระหนก จนเกินไป

คิดมากและกังวลบ่อยๆ
ปัญหาของเด็กวัยรุ่นที่มีลักษณะคิดมากและกังวลใจบ่อย ๆ นั้น โดยทั่วไปวัยรุ่น จะเป็นวัยที่ช่างคิดช่างฝันและช่างจินตนาการ ซึ่งในบางคนจะมีลักษณะ คิดมากกว่าทำ หรือผิดแล้วมิได้พูดคุยให้ใครทราบ แต่จะคิดวนในเรื่องเดิมซ้ำ ๆ หรือบางคนจะครุ่นคิดเกี่ยวกับปัญหาใด