หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๒ การทดสอบสมรรถภาพ

บทที่๑๒ การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๒ การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

ความหมายของสมรรถภาพทางกาย

https://i.ytimg.com/vi/rhyREhNeU5I/

สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย

1.ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด (Cadiovascular Endurance)

2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength)

3.ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)

4.กำลัง (Power)

5.ความเร็ว (Speed)

6.ความคล่องตัว (Agility)

7.ความอ่อนตัว (Flexibility)

8.การทรงตัว (Balance)

 

 

 

 

ประเภทของสมรรถภาพทางกาย

ประเภทของสมรรถภาพทางกายแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

       1.สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง สมรรถภาพที่ประกอบด้วยความทนทานของระบบหายใจ และระบบไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหรือความอ่อนตัว และสัดส่วนของร่างกาย

2. สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ  หมายถึง ความสามารถของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่เป็นความสามารถเชิงสรีรวิทยาของระบบที่จะช่วยป้องกันบุคคลจากโรคต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะของการขาดการออกกำลังกาย และถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คนเรามีสุขภาพที่ดี

      คุณค่าการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี

สมรรถภาพทางกายจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างกายได้มีการเคลื่อนไหวออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ การที่บุคคลมีสมรรถภาพทางกายที่ดี มีคุณค่าและประโยชน์ดังนี้

1.ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี

2.ผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะช่วยให้มีบุคลิกลักษณะสง่าผ่าเผย คล่องแคล่วกระฉับกระเฉง

3.ผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะมีการทำงานประสานกันระหว่างระบบต่างๆ

4.ผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะทำงานสำเร็จได้โดยใช้แรงน้อยกว่า เหนื่อยน้อยกว่า ทำให้ร่างกายสามารถนำกำลังไปใช้ในงานอื่นได้ต่อไป

         การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก

ก้าวขาออกด้านข้าง ผู้ทดสอบยืนคร่อมเส้นกลาง เท้าทั้งสองห่างกันพอประมาณเมื่อได้รับสัญญาณเริ่มให้เริ่มก้าวเท้าออกด้านข้างคร่อมเส้นทางด้านขวา กลับมาคร่อมเส้นกลาง และก้าวไปคร่อมเส้นทางด้านซ้ายสลับไปสลับมาทั้งสามเส้น โดยทำให้เร็วที่สุดในเวลา 20 วินาที ให้ทำ 2 ครั้ง เอาครั้งที่ดีที่สุดเป็นผลการทดสอบ บันทึกผลการทดสอบเป็นจำนวนครั้งที่ทำได้

ยืนกระโดดสูง

ยืนชิดกำแพง ยกแขนข้างหนึ่งเหยียดขึ้นด้านบนเหนือหัว ทำเครื่องหมายวัดให้สูงกว่าแขนประมาณ 20 เซนติเมตร แล้วกระโดดให้สุดที่สุด ทำอย่างนี้กลายๆครั้จะพบว่า ยิ่งกระโดดยิ่งสูงขึ้น

กล้ามเนื้อหลัง

ยืนบนเครื่องวัดจับคานแบบคว่ำมือ หลังทำมุม 30 องศากับแนวดิ่ง แขนและขาเหยียดตรง เกร็งกล้ามเนื้อหลังเหยียดตัวขึ้น บันทึกผลเป็นกิโล

แรงบีบมือ

การทดสอบโดยใช้มือลูบแม็กนีเซียมคาร์บอเนต(magnesium carbonate) เพื่อกันหล่อลื่น แล้วปรับเครื่องวัด จับเครื่องวัดให้เหมาะสม โดยใช้ข้อนิ้วที่ 2 รับน้ำหนักของเครื่องวัด ยืนตรงปล่อยแขนห้อยข้างลำตัว พร้อมแขนออกห่างลำตัวเล็กน้อย บีบให้สุดแรงห้ามไม่ให้ส่วนใดของร่างกายโดนเครื่องวัด ทำอย่างนี้สองครั้ง 2ครั้ง และบันทึกผลเพื่อวัดการทดลองที่ดีที่สุด

ยืนก้มตัวลงข้างหน้า

ยืนให้เท้าห่างกนพอประมาณ ขาแขนยืดตรงและชิดกัน ก้มตัวไปข้างหน้าให้มากที่สุด ทำอย่างนี้ 2 ครั้ง แล้วบันทึกและเลือกผลที่ดีที่สุด

ก้าวขึ้นม้า

ก้าวขึ้นและลงบันไดเป็น 4 จังหวะ ใน 1นาที ต้องทำให้ได้ 30 ครั้งต่อกันเป็นเวลา 3 นาที พักหนึ่งนาที แล้วจับชีพจร ทำอย่างนี้ 3 ครั้ง รวมชีพจรทั้ง 3ครั้ง

แล้วรวมชีพจร แล้วเอาไปหาร 9000 ตามสูตร

 

ค่าดรรชนี

9000 หารด้วยผลของชีพจร

(และชายให้บันไดสูงประมาณ 40ซม.หญิงและเด็กใช้ 35 ซม.)

สมรรถภาพร่างกายของนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป ระดับมัธยมศึกษา ชาย

 

             ระดับ

รายการ

1 2 3 4 5
ก้าวออกด้านขาง น้อยกว่า31ครั้ง 32-35 36-41 42-46 มากกว่า47 ครั้ง
กระโดดสูง น้อยกว่า32ซม. 33-42 43-53 54-63 มากกว่า64 ชม.
กล้ามเนื้อหลัง น้อยกว่า71กก. 72-107 108-143 144-147 มากกว่า178 กก.
แรงบีบมือ น้อยกว่า23กก. 24-34 35-43 44-54 มากกว่า55 กก.
นอนคว่ำ แอ่นตัว น้อยกว่า36กก. 37-46 47-56 57-66 มากกว่า67 ชม.
ยืนก้มตัวลงข้างหน้า น้อยกว่า4ซม. 5-11 12-18 19-24 มากกว่า25 ชม.
ก้าวขึ้นม้า น้อยกว่า41.8 41.9-56.5 56.6-71.3 71.4-85.9 มากกว่า86.0

 

ระดับความสามารถของแต่ละอายุ ชาย

อายุ
12 ปี 20 ขึ้นไป 19-18 17-14 13-11 10 ลงไป
13 ปี 23 ขึ้นไป 22-20 19-16 15-13 12 ลงไป
14 ปี 24 ขึ้นไป 23-21 20-17 16-14 13 ลงไป
15 ปี 27 ขึ้นไป 26-23 22-19 18-16 15 ลงไป
16 ปี 27 ขึ้นไป 26-24 23-20 19-17 16 ลงไป
17 ปี 29 ขึ้นไป 28-26 25-22 21-19 18 ลงไป
18 ปี 29 ขึ้นไป 28-26 25-22 21-20 19 ลงไป

ระดับมัธยมศึกษา หญิง

รายการ 1 2 3 4 5
ก้าวออกด้านข้าง น้อยกว่า23 ครั้ง 24-29 30-35 36-40 มากกว่า41ครั้ง
ยืนกระโดด น้อยกว่า24 ชม. 25-30 31-37 38-43 มากกว่า 44ชม.
กล้ามเนื้อหลัง น้อยกว่า45 กก. 46-66 67-88 89-109 มากกว่า110 กก.
แรงบีบมือ น้อยกว่า16 กก. 17-23 24-30 31-37 มากกว่า 38กก.
นอนคว่ำ แอ่นตัว น้อยกว่า37ชม. 38-46 47-57 58-66 มากกว่า67ชม.
ยืนก้มหน้าลงข้างหน้า น้อยกว่า 5ชม. 6-11 12-18 19-23 มากกว่า 24ชม.
ก้าวขึ้นม้า น้อยกว่า36.6 36.7-50.6 50.7-64.8 64.9-78.8 มากกว่า38.9

ระดับความสามารถของแต่ละอายุ หญิง

อายุ
12 ปี 25 ขึ้นไป 24-22 21-18 17-15 14 ลงไป
13 ปี 26 ขึ้นไป 25-23 22-19 18-16 15 ลงไป
14 ปี 27 ขึ้นไป 26-24 23-20 19-17 16 ลงไป
15 ปี 28 ขึ้นไป 27-25 24-21 20-18 17 ลงไป

ตัวอย่างสมรรถภาพของ ก(ชาย 15 ปี)

รายการทดสอบ สถิติ คะแนน
ก้าวออกด้านข้าง 43 ครั้ง 4
ยืนกระโดดสูง 64 ชม. 5
กล้ามเนื้อหลัง 148 กก. 5
แรงบีบมือ 56 กก. 5
ก้าวขึ้นม้า 70.9 ครั้ง 3
นอนคว่ำ แอ่นตัว 42 ชม. 2
ยืนก้มลงข้างหน้า 15 ชม. 3
รวม   27
ระดับความสามารถ  

 

ข้อควรคำนึงในการสร้างเสริมสรรถภาพทางกาย

การสร้างเสริมสรรถภาพทางกายโดยใช้กิจกรรมออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีบุคคิลภาพที่ดีขึ้น

1.     อายุ วัยต่างๆจะมีความเหมาะสมกับกานออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาไม่เหมือนกัน การเลือกกิจกรรมจึงแตกต่างกันในแต่ละวัย

2.     เพศ สมรรถภาพทางกายของหญิงและชายย่อมมีความแตกต่างกัน

3.     สภาพร่างกาย จิตใจ และ พรสวรรค์ เป็นเรื่องของตัวบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมขนาดรูปร่าง ลักษณะทางกาย

4.     อาหาร มีผลต่อการสร้างเสริมสรรถภาพทางกาย

5.     ภูมิอากาศ มีอิทธิพลต่อการสร้างเสริมสรรถภาพทางกายมาก ความร้อนทำให้ความอดทนลดลง เพราะทำให้การระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อทำได้ยากขึ้น ดังนั้นกลางวันเหมาะสำหรับการฝึกความอดทน

6.     เครื่องแต่งกาย ลักษณะของเสื้อผ้า เช่น แขนสั้น แขนยาว เนื้อผ้า สีของเสื้อผ้า จะมีผลกระทบต่อการออกกำลังการของในแง่ของความคล่องตัว การระบายความร้อน

7.     แอลกอฮอล์ มีผลต่อสรรถภาพโดยตรง แอลกอฮอล์ที่สะสมอยู่ในเลือดจะกระตุ้นให้ส่วนประสาทส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนไหว การมองเห็นด้อยประสิทธิภายลดลง

8.     บุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย