หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๒ การทดสอบสมรรถภาพ

บทที่๑๒ การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๒ การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย

ความหมายของสมรรถภาพทางกาย

https://i.ytimg.com/vi/rhyREhNeU5I/

สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย

1.ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด (Cadiovascular Endurance)

2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength)

3.ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)

4.กำลัง (Power)

5.ความเร็ว (Speed)

6.ความคล่องตัว (Agility)

7.ความอ่อนตัว (Flexibility)

8.การทรงตัว (Balance)

 

 

 

 

ประเภทของสมรรถภาพทางกาย

ประเภทของสมรรถภาพทางกายแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

       1.สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง สมรรถภาพที่ประกอบด้วยความทนทานของระบบหายใจ และระบบไหลเวียนเลือด ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหรือความอ่อนตัว และสัดส่วนของร่างกาย

2. สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ  หมายถึง ความสามารถของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่เป็นความสามารถเชิงสรีรวิทยาของระบบที่จะช่วยป้องกันบุคคลจากโรคต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะของการขาดการออกกำลังกาย และถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คนเรามีสุขภาพที่ดี

      คุณค่าการมีสมรรถภาพทางกายที่ดี

สมรรถภาพทางกายจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างกายได้มีการเคลื่อนไหวออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอ การที่บุคคลมีสมรรถภาพทางกายที่ดี มีคุณค่าและประโยชน์ดังนี้

1.ผู้มีสมรรถภาพทางกายดีจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี

2.ผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะช่วยให้มีบุคลิกลักษณะสง่าผ่าเผย คล่องแคล่วกระฉับกระเฉง

3.ผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะมีการทำงานประสานกันระหว่างระบบต่างๆ

4.ผู้มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะทำงานสำเร็จได้โดยใช้แรงน้อยกว่า เหนื่อยน้อยกว่า ทำให้ร่างกายสามารถนำกำลังไปใช้ในงานอื่นได้ต่อไป

         การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก

ก้าวขาออกด้านข้าง ผู้ทดสอบยืนคร่อมเส้นกลาง เท้าทั้งสองห่างกันพอประมาณเมื่อได้รับสัญญาณเริ่มให้เริ่มก้าวเท้าออกด้านข้างคร่อมเส้นทางด้านขวา กลับมาคร่อมเส้นกลาง และก้าวไปคร่อมเส้นทางด้านซ้ายสลับไปสลับมาทั้งสามเส้น โดยทำให้เร็วที่สุดในเวลา 20 วินาที ให้ทำ 2 ครั้ง เอาครั้งที่ดีที่สุดเป็นผลการทดสอบ บันทึกผลการทดสอบเป็นจำนวนครั้งที่ทำได้

ยืนกระโดดสูง

ยืนชิดกำแพง ยกแขนข้างหนึ่งเหยียดขึ้นด้านบนเหนือหัว ทำเครื่องหมายวัดให้สูงกว่าแขนประมาณ 20 เซนติเมตร แล้วกระโดดให้สุดที่สุด ทำอย่างนี้กลายๆครั้จะพบว่า ยิ่งกระโดดยิ่งสูงขึ้น

กล้ามเนื้อหลัง

ยืนบนเครื่องวัดจับคานแบบคว่ำมือ หลังทำมุม 30 องศากับแนวดิ่ง แขนและขาเหยียดตรง เกร็งกล้ามเนื้อหลังเหยียดตัวขึ้น บันทึกผลเป็นกิโล

แรงบีบมือ

การทดสอบโดยใช้มือลูบแม็กนีเซียมคาร์บอเนต(magnesium carbonate) เพื่อกันหล่อลื่น แล้วปรับเครื่องวัด จับเครื่องวัดให้เหมาะสม โดยใช้ข้อนิ้วที่ 2 รับน้ำหนักของเครื่องวัด ยืนตรงปล่อยแขนห้อยข้างลำตัว พร้อมแขนออกห่างลำตัวเล็กน้อย บีบให้สุดแรงห้ามไม่ให้ส่วนใดของร่างกายโดนเครื่องวัด ทำอย่างนี้สองครั้ง 2ครั้ง และบันทึกผลเพื่อวัดการทดลองที่ดีที่สุด

ยืนก้มตัวลงข้างหน้า

ยืนให้เท้าห่างกนพอประมาณ ขาแขนยืดตรงและชิดกัน ก้มตัวไปข้างหน้าให้มากที่สุด ทำอย่างนี้ 2 ครั้ง แล้วบันทึกและเลือกผลที่ดีที่สุด

ก้าวขึ้นม้า

ก้าวขึ้นและลงบันไดเป็น 4 จังหวะ ใน 1นาที ต้องทำให้ได้ 30 ครั้งต่อกันเป็นเวลา 3 นาที พักหนึ่งนาที แล้วจับชีพจร ทำอย่างนี้ 3 ครั้ง รวมชีพจรทั้ง 3ครั้ง

แล้วรวมชีพจร แล้วเอาไปหาร 9000 ตามสูตร

 

ค่าดรรชนี

9000 หารด้วยผลของชีพจร

(และชายให้บันไดสูงประมาณ 40ซม.หญิงและเด็กใช้ 35 ซม.)

สมรรถภาพร่างกายของนักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป ระดับมัธยมศึกษา ชาย

 

             ระดับ

รายการ

1 2 3 4 5
ก้าวออกด้านขาง น้อยกว่า31ครั้ง 32-35 36-41 42-46 มากกว่า47 ครั้ง
กระโดดสูง น้อยกว่า32ซม. 33-42 43-53 54-63 มากกว่า64 ชม.
กล้ามเนื้อหลัง น้อยกว่า71กก. 72-107 108-143 144-147 มากกว่า178 กก.
แรงบีบมือ น้อยกว่า23กก. 24-34 35-43 44-54 มากกว่า55 กก.
นอนคว่ำ แอ่นตัว น้อยกว่า36กก. 37-46 47-56 57-66 มากกว่า67 ชม.
ยืนก้มตัวลงข้างหน้า น้อยกว่า4ซม. 5-11 12-18 19-24 มากกว่า25 ชม.
ก้าวขึ้นม้า น้อยกว่า41.8 41.9-56.5 56.6-71.3 71.4-85.9 มากกว่า86.0

 

ระดับความสามารถของแต่ละอายุ ชาย

อายุ
12 ปี 20 ขึ้นไป 19-18 17-14 13-11 10 ลงไป
13 ปี 23 ขึ้นไป 22-20 19-16 15-13 12 ลงไป
14 ปี 24 ขึ้นไป 23-21 20-17 16-14 13 ลงไป
15 ปี 27 ขึ้นไป 26-23 22-19 18-16 15 ลงไป
16 ปี 27 ขึ้นไป 26-24 23-20 19-17 16 ลงไป
17 ปี 29 ขึ้นไป 28-26 25-22 21-19 18 ลงไป
18 ปี 29 ขึ้นไป 28-26 25-22 21-20 19 ลงไป

ระดับมัธยมศึกษา หญิง

รายการ 1 2 3 4 5
ก้าวออกด้านข้าง น้อยกว่า23 ครั้ง 24-29 30-35 36-40 มากกว่า41ครั้ง
ยืนกระโดด น้อยกว่า24 ชม. 25-30 31-37 38-43 มากกว่า 44ชม.
กล้ามเนื้อหลัง น้อยกว่า45 กก. 46-66 67-88 89-109 มากกว่า110 กก.
แรงบีบมือ น้อยกว่า16 กก. 17-23 24-30 31-37 มากกว่า 38กก.
นอนคว่ำ แอ่นตัว น้อยกว่า37ชม. 38-46 47-57 58-66 มากกว่า67ชม.
ยืนก้มหน้าลงข้างหน้า น้อยกว่า 5ชม. 6-11 12-18 19-23 มากกว่า 24ชม.
ก้าวขึ้นม้า น้อยกว่า36.6 36.7-50.6 50.7-64.8 64.9-78.8 มากกว่า38.9

ระดับความสามารถของแต่ละอายุ หญิง

อายุ
12 ปี 25 ขึ้นไป 24-22 21-18 17-15 14 ลงไป
13 ปี 26 ขึ้นไป 25-23 22-19 18-16 15 ลงไป
14 ปี 27 ขึ้นไป 26-24 23-20 19-17 16 ลงไป
15 ปี 28 ขึ้นไป 27-25 24-21 20-18 17 ลงไป

ตัวอย่างสมรรถภาพของ ก(ชาย 15 ปี)

รายการทดสอบ สถิติ คะแนน
ก้าวออกด้านข้าง 43 ครั้ง 4
ยืนกระโดดสูง 64 ชม. 5
กล้ามเนื้อหลัง 148 กก. 5
แรงบีบมือ 56 กก. 5
ก้าวขึ้นม้า 70.9 ครั้ง 3
นอนคว่ำ แอ่นตัว 42 ชม. 2
ยืนก้มลงข้างหน้า 15 ชม. 3
รวม   27
ระดับความสามารถ  

 

ข้อควรคำนึงในการสร้างเสริมสรรถภาพทางกาย

การสร้างเสริมสรรถภาพทางกายโดยใช้กิจกรรมออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีบุคคิลภาพที่ดีขึ้น

1.     อายุ วัยต่างๆจะมีความเหมาะสมกับกานออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬาไม่เหมือนกัน การเลือกกิจกรรมจึงแตกต่างกันในแต่ละวัย

2.     เพศ สมรรถภาพทางกายของหญิงและชายย่อมมีความแตกต่างกัน

3.     สภาพร่างกาย จิตใจ และ พรสวรรค์ เป็นเรื่องของตัวบุคคล ซึ่งเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมขนาดรูปร่าง ลักษณะทางกาย

4.     อาหาร มีผลต่อการสร้างเสริมสรรถภาพทางกาย

5.     ภูมิอากาศ มีอิทธิพลต่อการสร้างเสริมสรรถภาพทางกายมาก ความร้อนทำให้ความอดทนลดลง เพราะทำให้การระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อทำได้ยากขึ้น ดังนั้นกลางวันเหมาะสำหรับการฝึกความอดทน

6.     เครื่องแต่งกาย ลักษณะของเสื้อผ้า เช่น แขนสั้น แขนยาว เนื้อผ้า สีของเสื้อผ้า จะมีผลกระทบต่อการออกกำลังการของในแง่ของความคล่องตัว การระบายความร้อน

7.     แอลกอฮอล์ มีผลต่อสรรถภาพโดยตรง แอลกอฮอล์ที่สะสมอยู่ในเลือดจะกระตุ้นให้ส่วนประสาทส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนไหว การมองเห็นด้อยประสิทธิภายลดลง

8.     บุหรี่ ในควันบุหรี่มีสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย

 

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๑ การช่วยฟื้นคืนชีพ

บทที่๑๑ การปฐมพยาบาล

 

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๑ การปฐมพยาบาล

http://www.urnurse.net/image/

การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ที่ได้รับอุบัติภัยหรือเจ็บป่วยกะทันหันโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายน้อยลง   ก่อนที่จะนำส่งโรง พยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาพยาบาลต่อไป

หลักการทั่วไปของการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

 

1. เมื่อพบผู้บาดเจ็บที่มีเลือดออก ควรห้ามเลือด
2. ถ้าผู้บาดเจ็บไม่มีเลือดออก ควรตรวจว่าร่างกายอบอุ่นหรือไม่ มีอาการช็อคตัวเย็นซีดหรือไม่ ควรห่มผ้าให้อบอุ่น หนุนลำตัวให้สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย
3. ควรตรวจว่าผู้ป่วยมีสิ่งของในปากหรือไม่ เช่น เศษอาหาร ฟันปลอม ถ้ามีให้รีบล้วงออก เพื่อ ไม่ให้ทางเดินหายใจอุดตันหรือสำลักเข้าปอด

 

4. ควรตรวจลมหายใจของผู้บาดเจ็บว่าติดขัดหรือหยุดหายใจหรือไม่ ถ้ามีควรผายปอดและควรตรวจคลำชีพจร ของเส้นเลือดใหญ่บริเวณ ข้างลำคอ ถ้าพบว่ามีการเต้นจังหวะเบามากให้รีบนวดหัวใจด้วยวิธีกดหน้าอก
5. ควรตรวจร่างกายว่ามีส่วนใดมีบาดแผล รอยฟกช้ำ กระดูกหักหรือ เข้าเคลื่อนหรือไม่ หากพบสิ่งผิดปกติ ให้ปฐมพยาบาล เช่น ปิดบาด แผล ห้ามเลือด เป็นต้น
6. ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องเคลื่อน ย้ายควรทำให้ถูกวิธี
7. ควรคลายเสื้อผ้าให้หลวม
8. ควรห้ามคนมามุงดู เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ต้อง ให้มีอากาศโปร่ง และมีแสงสว่าง เพียงพอ

 

การสำรวจอาการบาดเจ็บ

 เมื่อผู้ได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาการผิดปกติกะทันหันจำเป็นต้องสังเกตหรือต้องสำรวจอาการผิดปกติว่ามีอะรตรงไหนบ้างที่ต้องช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างถูกวิธีก่อนถึงมือแพทย์ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บาดเจ็บคือ

1.ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต

2.เป็นการผ่อนหนังให้เป็นเบาจากอาการบาดเจ็บ

3.ช่วยให้ผู้ป่วยกลับฟื้นคืนสติเร็วขึ้น

4.สามารถส่งผู้ป่วยถึงมือแพทย์ได้รวดเร็วและถูกวิธี

การสังเกตอาการบาดเจ็บหรืออาการผิดปกติ ปฏิบัติได้ดังนี้

1.สังเกตว่าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวหรือมีสติหรือไม่

2.สังเกตการหายใจ

3.สังเกตการเสียเลือด และการเต้นของชีพจร

4.การตรวจสัญญาณ

5.สังเกตอาการผิดปกติ โดยการนับชีพจร ผู้ใหญ่ 60-80 ครั้ง/นาที เด็ก 90-130 ครั้ง/นาที มีการเต้นอย่างสม่ำเสมอ

6.สังเกตลักษณะบาดแผลและรูปลักษณ์ของอวัยวะที่ผิดไปจากเดิม

7.สังเกตการทำงานของระบบประสาท

8.สังเกตความผิดปกติอย่างอื่น เช่น สีผิว หน้าแดง หรือซีด

หลังจากสังเกตอาการบาดเจ็บแล้วพบสาเหตุแล้ว ควรให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามอาการ โดยปกติภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการปฐมพยาบาลมี 2 ประเภท ได้แก่

1.ภาวะคุกคามชีวิต คือ ถ้าปฐมพยาบาลถูกต้องก็จะช่วยให้ชีวิตรอด ถ้าผิดจะพิการหรือตาย

เลือดออกหรือตกเลือด

ช็อกและเป็นลมหมดสติ

หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น

การได้รับสารพิษเข้าไป

2.ภาวะที่ไม่รุนแรงถึงตาย แต่ผู้ปฐมพยาบาลสามารถช่วยให้ผ่อนคลายความเจ็บปวดและป้องกันไม่ให้บาดแผลลุกลามหรือบาดเจ็บยิ่งขึ้น เช่น บาดแผลจากของมีคม หรือไฟไหม้ เป็นต้น

การปฐมพยาบาลบาดแผล

ชนิดของบาดแผลบาดแผลปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง เช่น แผลฟกช้ำ ห้อเลือด ข้อเท้าพลิก ข้อแพลง

การดูแล

ใน 24 ชั่วโมงแรก ใช้น้ำแข็งหรือถุงน้ำเย็นประคบ เพื่อไม่ให้เลือดออก และช่วยระงับอาการปวด

หลัง 24 ชั่วโมง ควรประคบด้วยน้ำอุ่น เพื่อช่วยละลายลิ่มเลือด

บาดแผลเปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดและมีเลือดไหลออกมานอกผิวหนัง เช่น แผลถลอก แผลตัด แผลฉีกขาดกระรุ่งกระริ่ง แผลถูกยิง แผลถูกแทง แผลถูกยิง

 

การดูแล 

1.ชะล้างแผลและทำความสะอาดรอบๆ แผล ถ้าแผลสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่

2.ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้ากอซสะอาด ซับบริเวณแผลให้แห้ง

3.ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน (Betadine) ไม่จำเป็นต้องปิดแผล ถ้าเป็นแผลถลอก หากมีเลือดซึม ควรใช้ผ้ากอซสะอาดปิดแผลไว้

4.ถ้าบาดแผลมีขนาดใหญ่ กว้างและลึก มีเลือดออกมาก ให้ห้ามเลือด และรีบนำส่งโรงพยาบาล

บาดแผลที่เย็บการดูแล

1.ดูแลแผลไม่ให้สกปรก ไม่ควรให้ถูกน้ำเพราะจะทำให้แผลที่เย็บไม่ติด และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

2.การเปลี่ยนผ้าปิดแผลควรทำให้น้อยที่สุดหรือทำเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น ถ้าแผลสะอาดไม่ต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผลจนถึงกำหนดตัดไหม ยกเว้น แผลสกปรก อาจต้องล้างแผลบ่อยขึ้น

3.ตามปกติ จะตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน แต่ถ้าแผลยังอักเสบ หรือยังไม่แน่ใจว่าแผลติดแล้ว อาจต้องรอต่อไปอีก 2 – 3 วัน ให้แผลติดกันดีจึงค่อยตัดไหม ยกเว้นรายที่มีการติดเชื้อ แผลเป็นหนอง จำเป็นจะต้องตัดไหมออกก่อนกำหนด

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกหมายถึง การที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน ที่อุณหภูมิสูงกว่า 50 C ได้แก่ เปลวไฟ ไอน้ำร้อน น้ำเดือด สารเคมี กระแสไฟฟ้า และรังสีต่างๆ

ชนิดของแผลไหม้

1.     เฉพาะชั้นผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ลักษณะแผลแห้ง แดง และถ้าลึกถึงหนังแท้จะพองเป็นตุ่มน้ำใสและบวม

 

การดูแล

1.ระบายความร้อนออกจากแผล โดยใช้ผ้าชุบน้ำ หมั่นประคบบริเวณบาดแผล หรือเปิดให้น้ำไหลผ่านบริเวณบาดแผลตลอดเวลา นานประมาณ 10 นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย

2.ทาด้วยยาทาแผลไหม้

3.ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดหนังส่วนที่พองออก

4.ปิดด้วยผ้าสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและพันผ้าไว้

5.ถ้าแผลไหม้เป็นบริเวณกว้างหรือเป็นอวัยวะที่สำคัญต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

2.     ลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ได้แก่ ไขมัน กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก เป็นต้น ลักษณะแผลมีสีน้ำตาลเทาหรือดำ ผิวหนังรอบๆ จะซีด มีกลิ่นไหม้ อาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อน ถึงเสียชีวิตได้

การดูแล

  • ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากบาดแผลเพราะจะยิ่งทำให้แผลติดเชื้อมากขึ้น
  • ห้ามใส่ยาใดๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล
  • ใช้ผ้าสะอาดปิดบริเวณแผลเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก ให้ความอบอุ่น และรีบนำส่งโรงพยาบาล

ห้ามใช้น้ำปลา ยาสีฟัน ยาหม่อง ทาแผล เพราะอาจเกิดการติดเชื้อทำให้แผลอักเสบได้

อันตรายจากสารเคมี

เมื่อถูกสารเคมีหกราดผิวหนังหรือลำตัวให้ปฏิบัติตัวดังนี้

1.     ใช้น้ำล้าง โดยใช้วิธีตักราด หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่านนานประมาณ 10 นาที หรือนานจนแน่ใจว่าล้างออกหมด

2.     ถอดเสื้อผ้าเครื่องประดับที่เปื้อนสารเคมีออกให้หมด

3.     นำส่งโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บสาหัส

สิ่งสำคัญ

ถ้าสารเคมีเป็นผง ให้ถอดเสื้อผ้า และเครื่องประดับที่เปื้อนออกให้หมด แล้วล้างด้วยน้ำ เพราะถ้าใช้น้ำล้างทันที สารเคมีจะละลายน้ำทำให้ออกฤทธิ์เพิ่มขี้น

สารเคมีเข้าตา

ต้องรีบให้การช่วยเหลือเพราะอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนี้

1. ล้างด้วยน้ำสะอาด นานประมาณ 20 นาที โดยเปิดน้ำจากก๊อกเบาๆ ล้าง หรือเทน้ำจากแก้วล้างระวังอย่าให้น้ำเข้าตาอีกข้างหนึ่ง
2. ปิดตาด้วยผ้าสะอาด ห้ามขยี้ตา
นำส่งโรงพยาบาลทันที

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๐ หลีกเหลี่ยงความรุนแรง

บทที่๑๐ สัมพันธ์ดี มีไมตรีเลี่ยงความขัดแย้ง

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๐  สัมพันธ์ดี มีไมตรีเลี่ยงความขัดแย้ง

http://news.mthai.com/app/uploads/2013/12/

ปัจจัยในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้

1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย

2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้

3.การพูด การพูดที่ดี มีศิลปะในการพูด ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดให้เกียกับคนที่เราพูดด้วย

4.สายตา สาตตาจะบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด คนที่คิดดีสายตาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตร ไม่เสแสร้ง

5.จิตใจดี มองโลกในแง่ดีมีความจริงใจให้แก่เพื่อน การแสดงออกต่อบุคคลอื่นจะเป็นเรื่องดีๆเป็นส่วนใหญ่ และเสมอต้นเสมอปลาย

6.สติปัญญาดีและไหวพริบดี จะช่วยให้รู้จักสังเกตและพิจารณาคนที่คุยด้วยพูดสนทนาด้วยว่าเป็นคนอย่างไร จะช่วยให้การสร้างสัมพันธภาพง่ายขึ้น

ความสำคัญในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

มีความสำคัญ ดังนี้

1.ทำให้เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่น

2.มีเพื่อนและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

3.มีความรู้สึกที่ดีต่อคนอื่น

4.ได้รับการร่วมมือที่ดีในการติดต่อประสานงานหรือการทำงาน

5.มีศรัทราและมีกำลังใจในการดำรงชีวิต

6.เกิดความสามัคคีและให้ความร่วมมือในส่วนรวมมากขึ้น

7.เกิดการช่วยเหลือในสังคมมากขึ้น

การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในครอบครัว

          ครอบครัวซึ่งประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก หรือบางครอบครัวที่เป็นครอบครัวใหญ่อาจรวม ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า น้า อา ที่รวมกันอย่างมีความสุข และมีหลักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีดังนี้

1.ทุกคนต้องปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของครอบครัวสม่ำเสมอ

2.เคารพเชื่อฟังและให้เกียติซึ่งกันและกัน เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่

3.ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ

4.รักและซื่อสัตย์ต่อครอบครัว

5.มีความเอื้ออาทรต่อกันละกันภายในครอบครัว

การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน

เพื่อนคือคนที่ชอบพอรักใคร่กัน คนที่คบกันเป็นเพื่อนส่วนใหญ่จะมีความชอบ ความคิดเห็นตรงกัน และพฤติกรรมเหมือนๆหรือใกล้เคียงกัน หลักการสร้างภาพระหว่างเพื่อนคือ

1.รักและช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในเวลาปกติและในเวลาที่เดือดร้อน

2.สามารถปรับทุกข์และร่วมกันแก้ปัญหาให้กับเพื่อนได้

3.ยอมรับฟังความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะที่ดีต่อกัน

4.สนใจและเอาใจใส่ความรู้สึกของเพื่อนเสมอ

5.ไม่เห็นแก่ตัวและไม่เอาเปรียบเพื่อน

การสร้างและการรักษาสัมพันธภาพในสังคม

การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข จะเกิดขึ้นได้โดยมีหลักปฏิบัติ ดังนี้

1.พัฒนาบุคลิกภาพให้ผู้พบเห็นเกิดความชื่นชมและประทับใจด้วยการพูดกิริยาท่าทางต่างๆและการวางตัวอย่างเหมาะสม

2.การแสดงออกด้วยความใจกว้างและใจดี

3.การให้ความช่วยเหลือเอาใจใส่ในกิจกรรมละงานส่วนรวม

4.ให้คำแนะนำและเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

5.ร่วมกันแก้ปัญหาในสังคมให้ดีขึ้น

ทักษะที่จำเป็นในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

ทักษะที่จำเป็นในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลที่น่าสนใจและควรศึกษามีดังนี้

ทักษะการสื่อสาร

ทักษะการสื่อสารเพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เกิดการยอมรับและความเข้าใจดีต่อกันนั้นมีหลายวิธี คือ

1.การใช้คำพูด การพูดที่ดีหรือเรียกว่ามีศิลปะในการพูด ต้องฝึกการพูดและการแสดงออกต้องเหมาะสม

2.ทักษะการฟัง การเป็นผู้ฟังที่ดีสามารถสร้างความประทับใจให้กันผู้พูดหรือผู้ที่สนทนาด้วย ต้องตั้งใจฟังจับใจความเนื้อหาและทำความเข้าใจในเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูดให้ได้ คิดตามไปกับเรื่องที่กำลังฟังอยู่ ไม่ทรอดแทรกขัดจังหวะ ไม่แสดงอารมณ์ว่าไม่พอใจ สนใจผู้พูดตลอดเวลา

ทักษะการต่อรองเพื่อประนีประนอม

การต่อรอง หมายถึง การทำให้ลดลงเช่นของแพงมีการต่อรองให้ราคาลดลง ส่วนการประนีประนอมก็คือการผ่อนหนักให้เป็นเบาให้แก่กันหรือปรองดองกัน ดังนั้นทักษะการต่อรองเพื่อการประนีประนอมจึงหมายถึงทักษะที่ลดความรุนแรงหรือผ่อนหนักให้เป็นเบา สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับหลายคู่กรณีทั้งหลาย โดยการใช้ทักษะดังนี้

1.ควบคุมอารมณ์ ไม่ใจร้อน มีเหตุผล

2.รอบคอบ ความรอบคอบจะสามารถคิดหาเห็นผลในการต่อรองได้ดี

3.ใช้เหตุผล เหตุผลจะทำให้การต่อรองดีขึ้น

4.มีการยืดหยุ่น การรู้จักผ่อนหนักเป็นเบา คล้อยตามบ้าง

5.สุภาพอ่อนโยน

คำพูดที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง

คำพูดที่ประนีประนอม

1.เธอไม่ต้องมาชวนเราไปทำเรื่องไร้สาระเลยนะ เราไม่มีเวลาว่างมากเหมือนเธอ 1.เราอยากไปเดินซื้อของกับเธอนะ แต่เรายังทำการบ้านไม่เสร็จเลย ถ้าทำเสร็จก่อนที่เธอจะไป เราจะไปด้วยแล้วกันนะ
2.เราว่ามานีพูดถูกที่เธอไม่มีเหตุผลเลย พูดอย่างนี้ไม่มีใครอยากพูดกับเธอหรอก 2.เราว่าที่เธอพูดก็มีส่วนถูก แต่มองอีกด้านหนึ่ง ที่มานีพูดมาก็มีเหตุผลน่ารับฟังเหมือนกันนะ เราควรพิจารณาให้รอบคอบ เพื่อจะตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมเธอว่าดีไหม
3.เธอเอาแต่ใจเกินไปแล้วนะ 3.เธอน่าจะฟังคนอื่นบ้างนะ

ทักษะการเข้าสังคม

มนุษย์ย่อมมีสังคมของตนเอง เช่น วัยเด็กเด็กจะเป็นสังคมในครอบครัว โรงเรียนหรือเพื่อนบ้านเมื่อโตขึ้นสังคมจะกว้างขึ้นมีสังคมกับคนหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะแตกต่างกันไป ทักษะในการเข้าสังคมคือ

1.ทักษะในการพูด ต้องมีการเตรียมหรือศึกษากลุ่มสังคมที่จะต้องไปพบปะสังสรรค์เพื่อจะได้พูดคุยให้ตรงความสนใจของผู้ฟัง

2.ต้องเป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ขักแน้งหรือก่อกวน

3.มีความสุภาพ รู้กาลเทศะในการพูดคุย ในการวางตัว และการแต่งกายเหมาะสม

ความขัดแย้ง

ความขัดแย้ง หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ไม่ลงรอย ขัดขืนหรือต่อต้านกัน ทั้งภายในตนเอง และระหว่างกลุ่มบุคคล ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถจะตัดสินใจหรือหาข้อยุติที่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายได้อันเป็นผลทำให้เกินการแข่งขัน หรือทำลายกัน

ปัญหาความขัดแย้ง

ปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชนมีหลายประการ ดังนี้

1.การทะเลาะวิวาทภายในสถาบัน อาจเกิดจากบุคคล 2 คนที่ทำร้ายชกต่อย ตีกัน ปัญหาการรังแกกันในโรงเรียน ที่พบบ่อยคือการทำร้ายจิตใจกันด้วยวาจา การล้อเลียนกัน การที่รุ่นพี่ครอบงำบังคับรุ่นน้องและการคุกคามทางเพศ

2.การทะเลาะวิวาทภายนอกสถาบัน ส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงที่เกิดจากความรุนแรงที่เกิดจากความไม่พอใจกันระหว่างบุคคลกับบุคคล หรืออาจขยายเป็นระหว่างกลุ่มมักเกิดจากนักเรียน

3.การถูกทำร้ายทางเพศ วัยรุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้หญิงที่ถูกทำร้ายทางเพศ โดยมากมักเกิดจากความขัดแย้ง ทำให้เกิดความโกรธ อยากแก้แค้นกัน อาจใช้วิธีหลอกล่อและบังคับบางรายถูกทำร้ายทางเพศติดต่อกันหลายปี กว่าที่คนใกล้ชิดหรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะรู้เรื่องหรือผู้ถูกทำร้ายทางเพศยอมเปิดเผยเรื่องราว

สาเหตุของความขัดแย้ง

สาเหตุของความขัดแย้งในกลุ่มนักเรียนหรือเยาวชน มีดังนี้

1.เกิดจากความไม่พอใจจนทำให้มีความขัดแย้งกันในเรื่องต่างๆ จนเกิดอารมณ์เป็นเหตุให้ใช่ความรุนแรงต่อกัน มักเกิดกับกลุ่มเพื่อนที่ไม่ค่อยสนิทกัน อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบว่าตนเองถูกอีกฝ่ายไม่พอใจ

2.หยอกล้อและแกล้งกัน อาจจะเล่นแรงกันเกินไปหรืออีกฝ่ายไม่มีอารมณ์

3.การหึงหวง วัยรุ่นส่วนใหญ่ทั้งเพศชายและเพศหญิงเริ่มสนใจเพศตรงข้าม และบางคนอาจจะมีคู่รัก การชอบคนที่มีคู่รักอยู่แล้วจึงทำให้เกิดการหึงหวง

4.มีความผิดปกติทางจิตใจ คือเป็นคนก้าวร้าว ชอบการกระทำที่รุนแรงขาดความเมตตาปรานี

5.มาจากครอบครัวแต่ความขัดแย้ง พ่อแม่ทะเลาะกัน ทุบตีและด่าว่าเป็นประจำลูกจะซึมซับพฤติกรรมที่รุนแรงเกิดการเรียนแบบมีอารมณ์ร้อนและชอบใช้ความรุนแรง

ผลกระทบของความขัดแย้ง

ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชนเมื่อเกิดขึ้นจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ดังนี้

1.ทำให้โกรธเคือง เกิดความบาดหมางกันและเลิกคบหากัน ทำให้เสียเพื่อน

2.ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกัน จนทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ

3.ทำให้ครอบครัวไม่มีความสุข ผู้ปกครองเดือดร้อน มีความทุกข์ใจ

4. สภาพจิตใจถูกทำร้ายและบอบช้ำมาก เกิดความคับแค้นใจ

5.เสียการเรียน เสียเวลา และอาจเสียอนาคต

แนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาควรปฏิบัติ ดังนี้

1.ฝึกตนเองให้สามารถรู้จักแก้ปัญหาด้วยการใช้ความคิด มีเหตุผล

2.เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่นนักเรียน

3.เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม

4.เชื่อฟังคำสั่งสอนละคำแนะนำของบิดา มารดา และครูอาจารย์

5.แจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันทีเมื่อพบเหตุการณ์ที่จะทำให้เป็นปัญหาทำให้เกิดความรุนแรง

แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งในโรงเรียนอย่างสันติ มีดังนี้

1.ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาและยอมรับฟังเหตุผล

2.รู้จักให้อภัยกัน

3.ไม่ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหา

          4.ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกันไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางด้านร่างกายและจิตใจ

          5.รู้จักการข่มใจ อดทนอดกลั้น

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ สารเสพติด

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11  สารเสพติดให้โทษ

http://www.suriyothai.ac.th/files/u1194/

            สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด

วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกประสบอยู่รวมทั้งประเทศไทย ในอดีตจะพบว่าการแพร่ระบาดนั้นจะอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้แรงงานและกลุ่มเยาวชน ชุมชนแออัด ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันสารเสพติดกลับแพร่ระบาดเข้าไปสู่เยาวชนในสถานศึกษาแทน ซึ่งหากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว เยาวชนในสังคมทั่วประเทศไทยก็จะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวงรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษาเป็นปัญหาระดับนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเร่งสร้างความตระหนักให้ทุกคนในสังคมร่วมรับผิดชอบร่วมรณรงค์ ป้องกัน และให้ความรู้อย่างครอบคลุมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัยแก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนมีความรู้ มีความเข้าใจและตระหนักถึงมหันตภัยของสารเสพติด เกิดเป็นเจตคติที่ดีที่จะดำเนินชีวิตให้ห่างไกลและปลอดภัยจากสารเสพติดทุกชนิดได้ด้วยตนเอง

            ความหมายและการจำแนกประเภทของสารเสพติด

            จากความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หรือความหมายตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ สามารถสื่อความหมายของสารเสพติดได้ตรงกันว่าหมายถึง สารหรือยา หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่เมื่อเสพเข้าร่างกายจะโดยวิธีใดๆก็แล้วแต่ จะเป็นผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพในลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ

1. ผู้เสพจะเกิดความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง

2. ต้องเพิ่มขนาดหรือปริมาณของสารเสพติดนั้นขึ้นเรื่อยๆ

3. ต้องตกอยู่ใต้อำนาจบังคับอันเกิดจากฤทธิ์ของสารเสพติดนั้นๆ ทำให้หยุดไม่ได้และเกิดอาการขาดยา เมื่อไม่ได้เสพ

4. ผู้เสพจะมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง

จำแนกประเภทได้หลายวิธีที่สำคัญ คือ

จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้ 4 ประเภท คือ

1. กดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคอีน เฮโรอีน โซเดียมเซโคบาร์ บิทาล(เหล้าแห้ง) ไดอะซีแฟม แล็กเกอร์ คลอไดอะซีป๊อกไซด์ ทินเนอร์ กาว ฯลฯ

2. กระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน (ยาบ้า ยาม้า ยาขยัน) อีเฟดีน (ยาอี) โคเคอีน กระท่อม ฯลฯ

3. หลอนประสาท ได้แก่ DMT LSD เห็ดขี้ควาย และสารระเหยต่างๆ

4. ออกฤทธิ์ผสมผสาน ซึ่งครั้งแรกกระตุ้นประสาท แต่เมื่อเสพมากขึ้นก็จะกดประสาท และทำให้ประสาทหลอนได้ ได้แก่ กัญชา กระท่อม

จำแนกตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่5) พ.ศ. 2545 จำแนกได้ 5 ประเภท คือ

1.ยาเสพติดชนิดให้โทษรายแรง ได้แก่ เฮโรอีน อะซีทอร์ฟีน แอมเฟตามีน ฯลฯ

2.ยาเสพติดให้โทษทั่วไป ได้แก่ ฝิ่นมอร์ฟีน โคเคอีน เอธิลมอร์ฟีน ฯลฯ

3.ยาเสพติดให้โทษชนิดเป็นตำรับยาที่มียาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 1และ 2 ปรุงผสมอยู่ด้วย ได้แก่ ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสียที่มีฝิ่น โคเคอีนเป็นส่วนผสม

4.สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 2 ได้แก่ อะเซติลคอไรด์ อะเซติกแอนไฮไดรด์

5.พืชเสพติดให้โทษ ได้แก่ กัญชา กระท่อม เห็ดขี้ควาย ซึ่งจัดเป็นยาเสพติดที่ไม่เข้าประเภท 1 และ 4

ชนิดของสารเสพติดให้โทษที่แพร่ระบาดในปัจจุบัน

1.            แอมเฟตามีน หรือยาบ้า

ลักษณะทั่วไป

เป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น รสขม มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีหน้าที่เก็บความจำ ความคิดและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ มีชื่อเรียกทางการค้าต่างๆ กัน เช่น เบนซีดรีน เด็กซีดรีน ฟีนามีน ฯลฯ แต่ในกลุ่มผู้เสพนิยมเรียกกันว่า ยาม้า ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาเพิ่มพลัง และสุดท้ายเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ยาบ้า ผงแอมเฟตามมีนเมื่อนำมาผลิตอัดเป็นเม็ดจะมีหลายลักษณะทั้งเม็กกลมและแคปซูน มีหลายสี แต่ส่วนมากมีสีขาว สีน้ำตาล เม็ดกลมแบน มีลักษณะบนเม็ดยา เช่น รูปหัวม้า 99 รูปดาว LONDON ฯลฯ ในอดีต วงการแพทย์ใช้แอมเฟตามีนรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต โรคซึมเศร้า โรคง่วงเหงาหาวนอน ใช้ลดความอ้วน แต่ด้วยอาการติดยา และมีผลเสียต่อสุขภาพจึงเลิกใช้ในปัจจุบัน ฤทธิ์ของแอมเฟตามีนจะมีผลมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นกับปริมาณยา ระยะเวลาของการใช้ยา สภาพของร่างกายผู้เสพ และเอกลักษณ์ทางเคมีของตัวยาว่ามีมาก้อยเพียงใดเป็นสำคัญ

            อาการของผู้เสพติดแอมเฟตามีนหรือยาบ้า

ฤทธิ์ของแอมเฟตามีนหรือยาบ้าส่งผลกระทบต่อผู้เสพ ก่อให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจดังต่อไปนี้

            อาการทางกาย

            ผู้เสพแอมเฟตามีนหรือยาบ้าประมาณ 20-30 กรัมต่อวัน จะมีอาการเบื่ออาหาร พูดมากตื่นเต้นง่าย มือสั่น คลื่นไส้ ความดันเลือดสูง หัวใจเต้นเร็วและแรง เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง ปากและจมูกแห้ง หน้ามัน ไม่ง่วง ทำงานได้นานกว่าปกติ รูม่านตาเบิกกว้าง สูบบุหรี่จัด ท้องเสีย มีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย จะทำให้ตัวซีดจนอาจเขียว มีไข้ขึ้นใจสั่น หายใจไม่ออก มือสั่นมาก เดินโซเซ คลื่นไส้อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อาจชักหมดสติหรือเสียชีวิตด้วยอาการของโรคหัวใจวาย หรือหลอดเลือดในสมองแตก นอกจากนี้ผู้เสพยาบ้า ยังมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคตับอักเสบ ไตไม่ทำงาน โรคเกี่ยวกับปอด และโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย

อาการทางจิต

            เนื่องจากยาบ้ามีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาทส่วนกลางและเป็นยาที่ถูกดูดซึมได้ง่าย จึงต้องเพิ่มขนาดเสมอๆ และเมื่อเสพต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการทางจิต คือ หวาดระแวง วิตกกังวล มีอาการประสาทหลอน บางรายเพ้อ คลุ้มครั่ง อาจเป็นบ้า ทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้

 

2.            อีเฟดีน หรือยาอี

ลักษณะทั่วไป

เป็นผงละเอียดสีขาว ที่มักเรียกกันว่า ยาอี ยาเอฟ หรือ ยาอี๊ เมื่อนำมาผลิตจะมีหลายลักษณะ มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางเช่นเดียวกับยาบ้าจึงระบาดในกลุ่มผู้ใช้แรงงานโดยมีการนำมาใช้แทนยาบ้า ก่อให้เกิดปัญหาต้อชีวิตและทรัพย์สินส่วนรวมอย่างมากมายกฎหมายจึงมีการควบคุมและมีมาตรการลงโทษเช่นเดียวกับยาบ้าด้วย

อาการของผู้เสพติดอีเฟดีน

จะมีอาการคล้ายกับผู้ติดยาบ้า

3.            ฝิ่น

ลักษณะทั่วไป 

ฝิ่นเป็นพืชล้มลุก เนื้อฝิ่นได้มาจากยางที่กรีดจากผล (กระเปาะ) มีสีน้ำตาล กลิ่นเหม็นเขียว รสขม เรียกว่า ฝิ่นดิบ หากนำมาเคี้ยว ต้ม หรือหมักจนเป็นฝิ่นสุก จะมีสีน้ำตาลไหม้ปนดำ มีรสขมเฉพาะตัว ในอดีตทางการแพทย์ใช้เป็นยาระงับปวด แก้โรคท้องเดิน และอาการไอ ด้วนมีฤทธิ์กดระบบประสาท

อาการของผู้เสพติดฝิ่น

ขณะเสพผู้เสพจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ซึม ง่วง พูดจากวน อารมณ์ดี ความคิดและการตัดสินใจเชื่องช้า

ผู้เสพฝิ่นติดต่อกันมานาน สุขภาพร่างการจะทรุดโทรม ตัวซีดเหลือง ซูบผอม ตาเหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ อ่อนเพลียง่าย ซึมเศร้า ง่วงนอน เกรียจคล้านไม่รู้สึกตัว อารมณ์แปรปรวนง่าย ชีพจร เต้นช้า ความจำเสื่อม หากไม่ได้เสพจะมีอาการหงุดหงิด น้ำมูกน้ำตาไหลม่านตาขยายผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง อาเจียน หายใจ ลำบาก อาจชักและหมดสติ

            4.มอร์ฟีน

            ลักษณะทั่วไป

            เป็นสารอัลคาลอยด์ที่สกัดได้จากฝิ่น มีลักษณะสีขาวนวล สีครีม สีเทา ไม่มีกลิ่น รสขม ละลายน้ำง่าย มีฤทธิ์กดประสาทและสมองรุนแรงกว่าฝิ่น 8-10 เท่าเสพติดได้ง่าย มีลักษณะต่างกันเช่น เป็นเม็ด ผง หรือแท่งสี่เหลี่ยม

 

อาการของผู้เสพติดมอร์ฟีน 

            ด้วยฤทธิ์กดประสาท ผู้ที่เสพมอร์ฟีนในระยะแรกจะช่วยทำให้ลดความวิตกกังวลคลายความเจ็บปวดทางร่างกายและทำให้ง่วงนอน หลับง่าย หากใช้เพื่อการรักษาต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ แต่ผู้ที่เสพจนติดแล้วฤทธิ์ของมอร์ฟีนจะทำให้เหม่อลอย เซื่องซึม เป็นต้น

5.เฮโรอีน (Heroin)

ลักษณะทั่วไป

            เป็นสารเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงที่สุด ได้มาจากกรรมวิธีทางเคมี ฤทธิ์มีความรุนแรงกว่ามอร์ฟีน 4-8 เท่า มีสองชนิดคือ ผงขาวเป็นเฮโรอีนบริสุทธ์ และไอละเหย เป็นเฮโรอีนไม่บริสุทธิ์    

            อาการของผู้ที่เสพติดเฮโรอีน                          

ผู้ที่เสพครั้งสองครั้งอาททำให้ติดเฮโรอีนได้ทันที ขณะเสพจะออกฤทธิ์กดประสาททำให้มึนงง เซื่องซึม ง่วง อ่อนเพลีย เคลิ้มหลับได้นานโดยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ผู้ที่เสพประจำจะทำให้สมองเสื่อม ปัญญาอ่อน ร่างกายซีดผอม สุขภาพทรุดโทรม ถึงขั้นช็อกละเสียชีวิตได้

6. โคเคน(Cocaine)

ลักษณะทั่วไป

            โคเคนหรือโคคาอีน เป็นสารเสพติดธรรมชาติที่ได้จาการสังเคราะห์ใบของต้นโคคาที่แปรสภาพสุดท้ายเป็น Cocaine Hydrochloride อันเป็นโคเคนบริสุทธิ์ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วยกลางเหมือนยาบ้า แต่จะทำให้ติดยาได้ง่ายกว่า มีลักษณะเป็นผงละเอียด สีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น

             อาการของผู้เสพติดโคเคน

            เมื่อเสพโคเคนเข้าไประยะแรกจะทำให้เกิดอาการไร้ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าคล้ายมีกำลังมากขึ้น ไม่เหนื่อย แต่จะอ่อนล้าทันทีเมื่อหมดฤทธิ์และมีอาการซึมฤทธิ์ของโคเคนจะไปกดการทำงานของหัวใจ ทำให้ชักและเสียชีวิตได้

            7. กัญชา

            ลักษณะทั่วไป

            กัญชาเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า จะใช้ใบและยอดช่อดอกตัวเมียมาตากหรืออบแห้ง แล้วหั่นหรือบดมาสูบกับบุหรี่หรือใช้บ้องไม่ไผ่ อาจใช้เคี้ยวหรือบดในอาหาร ออกฤทธิ์หลายอย่างรวมกัน ทั้งกระตุ้น กดและหลอดประสาท

            อาการของผู้เสพติดกัญชา

            ระยะแรกจะกระตุ้นประสาท ทำให้พูดมาก หัวเราะตลอดเวลา ตื่นเต้นง่าย ต่อมาจะคล้ายคนเมาเหล้า ง่วงนอน ซึม ถ้าเสพมากจะหลอนประสาทเห็นภาพลวงตา ความคิดสับสน ควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจทำให้เป็นบ้าได้ ทำให้ติดโรคได้ง่าย ความรู้สึกทางเพศลดน้อยหรือหมดไปด้วย

            8. สารระเหย

            ลักษณะทั่วไป

            เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมีที่ได้มาจากขบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมมีลักษณะเป็นไอระเหยเร็ว มักพบในรูปผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่างๆ เช่น ทินเนอร์ กาวน้ำ กาวยาง แล็กเกอร์ สีพ่น น้ำยาล้างเล็บ โดยถูกเสพผ่านทางเดินหายใจจะเข้าสู่กระแสเลือดแพร่กระจายไปส่วนต่างๆอย่างรวดเร็ว โดยสารพิษบางส่วนจะถูกกำจัดออกทางปอด ได้กลิ่นสารระเหยจากลมหายใจของผู้เสพผู้เสพได้

            อาการของผู้เสพติดสารระเหย

            1. พิษระยะเฉียบพลัน หลังเสพประมาณ 15-20 นาที ผู้เสพจะตื่นเต้น ร่าเริง ต่อมาจะมีอาการเมา พูดจาอ้อแอ้ (แม้ไม่มีกลิ่นสุรา) ความคิดสับสนควบคุมตัวเองไม่ได้ ฤทธิ์จะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ หูแว่ว จากนั้นจะซึม ง่วงเหงาหาวนอน อาเจียน หมดสติ และอาจทำให้หัวใจล้มเหลวเสียชีวิตได้

            2. พิษเรื้อรัง การเสพสารระเหยต่อเนื่องนานๆ เซลล์อวัยวะต่างๆ จะถูกทำลาย เกิดโรคต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะจะทำลายเซลล์สมอง ทำให้เป็นโรคสมองฝ่อถาวร ซึ่งไม่มีทางรักษาให้คืนสภาพปกติได้ และทำให้เป็นอัมพาตพิการถาวรได้

            วิธีสังเกตอาการของผู้ใช้สารเสพติด

            ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม อ่อนเพลีย ผิวหน้าหยาบกร้าน ตาสู้แสงแดดไม่ได้ ลุกลี้ลุกลน ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความรับผิดชอบ พฤติกรรมเปลี่ยน อาการเมื่อขาดสารเสพติดจะมีอาการขนลุก เหงื่อออก น้ำมูกน้ำตาไหล กระสับกระส่าย หายใจถี่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเดิน ปวดศีรษะและกระดูก นอนไม่หลับ

            การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. ทดลองด้วยยา โดยการฉีดยาทำลายฤทธิ์ของสารเสพติด ทำให้เกิดอาการขาดยา

2. การเก็บปัสสาวะ หรือเลือด (เฉพาะในกรณีการตรวจแอลกอฮอล์และสารละเหย) เพื่อหาสารเสพติดในร่างการ ซึ่งสามารถแยกชนิดของสารเสพติดได้

            สาเหตุของการติดสารเสพติดให้โทษ

1. สาเหตุทางด้านบุคคล

1.1 ถูกชักชวน

1.2 สภาพความกดดันทางครอบครัว  เช่น การทะเลาะกันของพ่อแม่

1.3 ความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น คนขับรถหรือลูกเรือในทะเล

1.4 เกิดความเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิตใจ อาจมีการใช้สารเสพติดเพื่อบรรเทาอาการป่วยทางกายและทางจิตบางชนิดนานติดต่อกันจนติดยาได้

1.5 ถูกหลอกลวงโดยผู้รับไม่ทราบว่าสิ่งที่ตนรับมาเป็นสารเสพติดหรือโดยการผสมปลอมปนกับอาหาร ของขบเคี้ยว

2.  สาเหตุจากตัวยาหรือสารเสพติด

            ตามปกติแล้วตัวยาหรือสารเสพติดจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ ถ้าคนไม่นำมาใช้ แต่เมื่อบุคคลใช้ยาหรือสารเสพติด คุณสมบัติเฉพาะของสารนั้นจะทำให้เกิดการเสพติดได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของสารเสพติดที่ใช้

3. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม

            3.1 อยู่ในแหล่งที่มีการซื้อ-ขาย หรือเสพ สารเสพติด

            3.2 สภาพแวดล้อมบังคับ โดยเฉพาะผู้ที่ติดสารเสพติดแล้วต้องการจะเลิกเสพเมื่อเข้ารับการรักษาหายแล้ว สังคมอาจจะไม่ยอมรับ แหล่งงานปฏิเสธการรับเข้าทำงาน เนื่องจากมีประวัติติดสารเสพติด จึงทำให้ต้องกลับไปอยู่ในสังคมสารเสพติดเช่นเดิม

            โทษและพิษภัยของสารเสพติด

1. ต่อผู้เสพ ทำให้สุขภาพทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิตใจ เกิดโรคต่างๆ

2. ต่อครอบครัว ก่อให้เกิดความเดือดร้อน สูญเสียรายได้ เกิดความไม่สงบสุขภายในครอบครัว

3. ต่อสังคม ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม

4. ต่อประเทศชาติ ทำให้สูญเสียเศรษฐกิจจำนวนมหาศาล และบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ       การป้องกันสารเสพติด

            ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาและหน้าที่ของทุกๆคนทุกๆหน่วยงานต้องร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกันดำเนินการในด้านการป้องกันสารเสพติด ควรเริ่มต้นจากเด็กและเยาวชนให้รู้จักการป้องกันตนเองจากสารเสพติดได้ เพราะเด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรบุคคลอันมีค่าที่จะเป็นพลังสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต มาตรการเพื่อป้องกันสารเสพติด

            การบำบัดรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด

            การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไขสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดสารเสพติดให้เลิกจากการเสพ และสามารถกลับไปดำรงชิวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ สามารถแบ่งระบบการรักษาออกเป็น 3 ระบบ คือ

1. ระบบสมัครใจ หมายถึง การที่ผู้ติดสารเสพติดสมัครใจ มีความพร้อมที่จะเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน

2. ระบบต้องโทษ หมายถึง การที่ผู้ติดสารเสพติดกระทำความผิดและถูกคุมขัง จะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย

3. ระบบบังคับ หมายถึง การใช้กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 โดยการตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดหากตรวจพบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย ผู้เสพติดจะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นระยะเวลา 6 เดือน หรืออาจจะขยายหรือลดระยะเวลา การบำบัดรักษาได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 3 ปี เพื่อให้การบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติดได้อย่างเด็ดขาด 

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘ การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 ใส่ใจความปลอดภัย

http://4.bp.blogspot.com/-VAbqAM3gvsw/Vo4FifDZDgI/AAAAAAAAAKE/vbiPnVuC3vM/s1600/

ภัยในบ้าน

บ้านถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เพราะที่อยู่อาศัยของคนเรา ปกติแล้วในบ้านน่าจะเป็นที่ปลอดภัยสำหรับคนในบ้าน แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่จะเป็นที่เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุที่ไม่คาดคิดภายในบ้าน เช่น

1.การพลัดตกหกล้ม อาจเกิดขึ้นภายในบ้านและอาจทำให้บาดเจ็บ จึงควรคำนึงถึงสิ่งเหล้านี้ด้วย

1.1 ควรล้างห้องน้ำให้สะอาดเสมอไม่ให้ลื่น เพราะอาจทำให้ลื่นล้มในห้องน้ำได้ จนอาจหัวฟาดพื้นได้ จนถึงต้องเข้าโรงพยาบาล

1.2 การยกของขึ้นหรือลงบันได อย่าละสายตาจากทางเดินหรือยกของหนักจนเกินไป

1.3 ถ้าพื้นบ้านปูนหรือกระเบื้องน้ำหก จนอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงควรเช็ดให้แห้งทันที

2. ภัยจากไฟฟ้า  ขณะนี้แทบจะ 100%ที่ทุกครั้งหลังใช้ไฟฟ้าใช้แล้ว จึงอาจเกิดเหตุที่อันตรายมาก เพราะเราไม่สามารถมองเห็นไฟฟ้าได้ และวิธีมีการป้องกันดังนี้

2.1 ถ้ามือเปียกหรือยืนในที่เปียก ก็ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า

2.2 ควรติดเต้าเสียบให้สูงกว่าไม่น้อยกว่าพื้นประมาณ 1.20 เมตรเพื่อไม่ให้เด็กเล็กเข้าใกล้ได้

2.3 ควรใช้ฟิวส์ขนาดพอเหมาะกับวงจรไฟฟ้า

3. ภัยจากแก๊สหุงต้ม ภัยที่มักพบ ได้แก่แก๊สรั่ว แก๊สระเบิด ควรระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะก่อให้เกิดเหตุที่อันตรายอย่างมากซ้ำแล้วยังทำให้คนรอบข้าง หรือบ้านใกล้เรือนเคียงได้ได้รับความเสียหาย และมีวิธีป้องกันดังนี้

3.1 ควรตั้งถังแก๊สให้ห่างจากผนังพอสมควร และตั้งในที่ระบายอากาศได้ดี

3.2 ตั้งถังแก๊สในพื้นที่ที่แข็ง

3.3อย่านอนถังแก๊ส ตั้งไว้เสมอไม่เคลื่อนย้ายขณะที่ใช้งาน

เด็ดขาด

4 ภัยจากอัคคีภัย เป็นภัยที่เกิดจากไฟไหม้ และมีวิธีป้องกันดังนี้

4.1 หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ไฟฟ้า

4.2 หมั่นตรวจดูถังแก๊ส

4.3 เก็บเชื้อเพลิงอย่างมิดชิด และห่างจากความร้อน

5.ภัยจากของมีคม ในบ้านจะมีการใช้ของมีคมเสมอ และมีวิธีป้องกันดังนี้

5.1 ขณะที่ใช้ของมีคมควรมีสติระมัดระวังการใช้

5.2 การวางของมีคมให้เป็นระเบียบ เรียบร้อยและมิดชิด

5.3 ไม่นำมาหยอกล้อกัน

6.ภัยจากแมลงกัดต่อย ที่อยู่ในบ้านจากแมลงที่สามารถกัดต่อย และมีวิธีป้องกันดังนี้

6.1 ถ้ามีรังผึ้ง รังต่อ รังแตน ควรกำจัดซะตั้งแต่ที่รังยังเล็กๆ

6.2 ควรดูแลบริเวณรอบบ้านให้สะอาด

6.3 สัตว์เลี้ยงที่มีเขี้ยว หรือเล็บที่สามารถทำอันตรายให้พาไปซีดวัคซีน ป้องกันโรคที่อาจทำให้เข้าโรงพยาบาล

ภัยในสถานศึกษา

ในสถานศึกษานั้นมีบริเวณที่กว้างขวาง พร้อมทั้งอุปกรณ์การศึกษาที่อยู่ในกิจกรรมการเรียนละในขณะที่ทำการเรียนการสอน ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน

1.การพลัดตกล้ม อาจมาจากการเล่นกีฬา การปีนป่าย และมีวิธีป้องกันดังนี้

1.1 ในการเล่นกีฬา ควรระมัดระวังในการทำกิจกรรมเพราะสมาธิป้องกันอันตรายจะต้องสนใจไปกับกีฬา

1.2 การทำกิจกรรมอาจต้องปีนป่าย ต้นไม้ กันสาด บันได ก็ควรเซฟตัวเอง

1.3 ขึ้นลงบันได ไม่ควรหยอกล้อกัน

ภัยจากการเดินทาง

  การเดินทางจำเป็นต้องใช้พาหนะ เพื่อความรวดเร็วและสะดวกสบาย ปัจจุบันมีมากมายในการใช้พาหนะในการเดินทาง ซึ่งอุบัติเหตุทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ  โดยฉะเพราะวันที่มีเทศกาล ไม่ว่าจะเป็น สงกรานต์ ปีใหม่ ก็มักเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ และมีวิธีป้องกันดังนี้

1.1  การเกิดอุบัติเหตุบนทางเท้าโดยพาหนะ

1.การเกิดอุบัติบนทางม้าลาย

2.ถ้าข้ามถนนโดยไม่มีทางม้าลายให้มองซ้าย ขวาให้แน่ใจซะก่อนที่จะข้ามถนน

3.ในการข้ามถนนมีหลายช่องทาง ถ้ารถคันหนึ่งหยุดต้องให้ ไม่ได้แปลว่าคันอื่นจะหยุดให้ ดังนั้นจะต้องมีสติในการเดินทาง

 

อุบัติเหตุการเดินทางน้ำ มีข้อป้องกันดังนี้

1.ไม่ขัดแย้งเบียดเสียดกันในการขึ้นเรือ

2.การขึ้นเรือควรให้เรือจอดสนิท

3.ไม่ควรบรรทุกของขึ้นเรือที่มากเกินไป

อุบัติเหตุทางอากาศ

ในเรื่องนี้คงยากเพราะหากเกิดอุบัติเหตุ การรอดชีวิตมีโอกาสน้อยมาก แต่ก็มีข้อปฏิบัติดังนี้

1.   ปฏิบัติตามเจ้าหน้าที่พนักงานอย่างเคร่งครัด

2.   มีสติเมื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้น เช่น การโดนปล้นบนเครื่อง

3.   เมื่อเกิดที่ไม่ดี มีเหตุขัดข้อง ไม่ควรเข้าใกล้หรือ เรียกพนักงาน

 

ภัยจาการประกอบอาชีพ

เป็นเหตุการณ์ที่ ที่เกิดอย่างคาดคิด ก่อให้อันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประ

ชาชนในที่สถานประกอบอาชีพ มีวิธีป้องกันดังนี้

1.ภัยที่เกิดจากโรงงานอุสาหกรรม

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการประกอบอาชีพอุสาหกรรม อาจมีเหตุจากการปฏิบัติงานของตนเอง หรือสภาพล้อม และมีข้อควรปฏิบัติดังนี้

1.1แต่งกายให้เหมาะสมกับการทำงาน รัดกุม และมีความคล่องตัวศึกษาให้เข้าใจกับอุปกรณ์การทำงาน  เครื่องมือ เครื่องจักรกล พร้อมทั้งตรวจสภาพให้เรียบร้อย

1.2การจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งของต่างๆให้เรียบร้อย

1.3ควรใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน

2.ภัยที่เกิดจากการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม

การเกิดอุบัติเหตุจากงานด้านเกษตรกรรม อาจเกิดจากตัวเอง เครื่องมือการเกษตร หรือสารพิษ

มีข้อป้องกันดังนี้

2.1ควรแต่งกายรัดกุมในการปฏิบัติงาน

2.2ศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือให้ดี

2.3ควรตรวจสอบสภาพเครื่องมือทุกครั้งก่อนใช้งาน

3.ภัยจากการประอาชีพด้านคหกรรม

อุบัติเหตุที่เกิดจากการประกอบอาชีพด้านคหกรรม อาจมาจากสาเหตุของตัวผู้ปฏิบัติเอง อุปกรณ์ หรือสภาพแวดล้อม

1.แต่งกายให้เหมาะสนกับสภาพอาชีพ

2.สถานที่ปฏิบัติควรมีสภาพที่เหมาะสม

3.ควรจัดวางเครื่องใช้ให้เป็นระเบียบ

ภัยที่เกิดโดยไม่คาดคิด

ภัยที่เกิดโดยที่เราไม่คาดคิดไม่ว่าจะขึ้นกับตัวเองหรือครอบครัว ภัยที่เกิดขึ้นนั้นมีมากมาย ภัยที่ยกมาเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่คาดคิดและควรได้รับการศึกษา

ภัยจากมิจฉาชีพ

 อาจเป็นการโดนวิ่งราว โดนลักขโมย การโดนจี้ กระทำชำราวโดนข่มขืน และมีแนวทางการป้องกันดังนี้

1.ควรตรวจตาเช็คความเรียบร้อย ของบ้าน

2.ไม่ควรอยู่ในที่ลับตาคน ที่คนสัญจรน้อย หรือถ้าจำเป็นควรหาอุปกรณ์ป้องกันติดตัวไปด้วยจะไม่ใส่ของล่อตาโจรจนเกินไป

3.ไม่แต่งกายล่อแหลม โชว์สัดส่วนร่างกาย เพราะอาจยั่วอารมณ์ทางเพศของเพศชาย

ภัยที่เกิดจากอุทกภัย

1.มีสติอย่าตื่นตระหนก และอยู่ให้ห่างจากที่เกิดเหตุ ถ้าอยู่ในที่เกิดเหตุก็รีบวิ่งไปหลบในใต้โต๊ะ

หรือหาสิ่งที่กำบังตัวเอง

2.หาที่โปรดโปร่งโล่งให้ห่างจากจุดเกิดเหตุ ให้ไกลที่สุด

3.ควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัดเมื่อเกิดเหตุ

ภัยที่เกดจากการท่องเที่ยว

1.มีที่เซฟความปลอดภัยสำหรับตนเองแม้ว่าจะต้องเดินทางไปเที่ยวในที่ใกล้ๆหรือในที่ที่ไม่อันตราย

2.ไม่ดื่มสุราหรือของมึนเมาขณะที่ไปเที่ยว หรือกำลังทำกิจกรรมในการท่องเที่ยว

3.ไม่ควรหยอกล้อ หรือเล่นกันขณะที่ทำกิจกรรม เพราะบางกิจกรรมอาจทำอันตรายถึงชีวิตได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ การพัฒนาสุขภาพในชุมชน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 สุขภาพชุมชน

http://www.thaihealth.or.th/data/content/27899/cms/

                 ความหมายและความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ

                 การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการสร้างเสริม สนับสนุนด้านสุขภาพโดยให้บุคคลมีการปฏิบัติและการพัฒนาสุขภาพ ตลอดจนจัดการสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเพื่อให้บรรลุการมีสุขภาพที่ดีท้างทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

                 ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ

                 การสร้างเสริมสุขภาพ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลทุกคนที่ต้องการเป็นคนมีสุขภาพดี การมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์จะเป็นทุนในการประกอบกิจกรรมและภารกิจในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าการดำเนินงานทางด้านสุขภาพในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นระบบสุขภาพเป็นระบบสร้างนำซ่อม กล่าวคือเดิมสุขภาพเป็นระบบตั้งรับ คือรอให้เจ็บป่วยแล้วจึงนำมาซ่อมหรือนำมารักษา ทำให้ประชาชนคนไทยเจ็บป่วยและตายก่อนวัยอันควร เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก แต่แนวคิดปัจจุบันเป็นระบบเชิงรุก พยายามทำทุกวิถีทางที่จะสร้างสุขภาพให้มีสุขภาพดีให้มากที่สุด ซึ่งทุกคนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและมีการปฏิบัติตนหรือมีพฤติกรรมสุขภาที่ถูกต้องโดยมีการปฏิบัติที่ทำให้มีความสุขที่ดีและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงหรืองดการกระทำที่เสี่ยงหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการการระมัดระวังเรื่องอาหารการกินที่ปลอดภัย ไม่มีสารพิษปนเปื้อนการส่งเริมสุขภาพจิต การจัดการกับความเครียดด้วยตนเองการลดความเสี่ยงจากการป้องกันและหลีกเลี่ยงสารเสพติดและอบายมุขต่างๆ เป็นต้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในเรื่องสุขภาพ ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากปัจจุบันมีการดำเนินการสร้างกระแสในเรื่องการสร้างสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวเกิดความตระหนัก และมีการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้นสิ่งต่างๆ ดังกล่าวล้วนเป็นการสร้างเสริมสุขภาพทั้งสิ้น ถ้าการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องจะทำให้ไม่เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรคที่เกิดจากวิถีชีวิต ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วนลงพุง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นผลให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เกิดการเจ็บป่วย สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่เกิดจากวิถีชีวิตให้น้อยลงได้

                 แนวคิดของการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน

                 กฎบัตรกรุงเทพ เพื่อการส่งเสริมสุขภาพในยุคโลกาภิวัตน์ได้ถูกบัญญัติขึ้นในการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลกครั้งที่ 6 ซึ่งจักขึ้นที่ประเทศไทย ใน พ.ศ.2548 กฎบัตรกรุงเทพสนับสนุนและกำหนดขึ้นบนพื้นฐานของค่านิยม หลักการและกลยุทธุ์การส่งเสริมสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรออตตาวา ซึ่งเป็นกฎบัตรการส่งเสริมสุขภาพของโลกที่บัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2529 จากการประชุมที่เมืองออตตาวา ประเทศแคนนาดา และข้อเสนอแนะจากการประชุมส่งเสริมสุขภาพโลกครั้งต่อๆ มาได้รับการรับรองจากประเทศสมาชิกในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ซึ่งกฎบัตรกรุงเทพจะต้องเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่มเพื่อการบรรลุสุขภาพดี การทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น ต้องอาศัยการดำเนินการทางการเมืองที่เข้มแข็ง การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและการชี้นำอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมสุขภาพทั้งในประเทศไทยและในระดับโลกมีมาตรการต่างๆ ที่ได้พิสูตจน์มาแล้วว่ามีประสิทธิผลเป็นจำนวนมากแต่สิ่งสำคัญคือต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เต็มที่อย่างเป็นรูปธรรม ตามกลยุทธ์ของการส่งเสริมสุขภาพ เราควรมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนของสังคมและทุกพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมที่จำเป็นดังนี้

                 1.การชี้นำเพื่อสุขภาพ  โดยตั้งบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและภราดรภาพ

                 2.  การลงทุน เพื่อการพัฒนานโยบายที่ยั่งยืนและเพื่อการดำเนินงาน  ตลอดจนจัดโครงสร้างพื้นฐานที่จะจัดการกับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดด้านสุขภาพ

                  3.  การสร้างศักยภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย  สร้างภาวะผู้นำ  พัฒนาทักษะการส่งเสริมสุขภาพ  การถ่ายทอดความรู้และศึกษาวิจัย  ตลอดจนมีความแตกฉานด้านสุขภาพ

                   4.  การออกระเบียบและกฎหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองจากอันตรายและมีโอกาสที่จะมีสุขภาพเท่าเทียมกัน

     5.  การสร้างภาคีเครือข่ายและพันธมิตร  ทั้งภาครัฐ  เอกชน  ประชาสังคม   และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน

                 บทบาทและความรับผิดชอบของตนเองที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพ

                 การมีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของคนทุกคน เพราะการมีสุขภาพดีจะทำให้เราสามารถใช้ความรู้ ความสามารถ และศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองได้อย่างเต็มที่ ในทางตรงข้าม บุคคลที่มีสุขภาพไม่ดี นอกจากจะต้องทนทุกข์ทรมานกับความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่แล้วบางรายยังเป็นภาระต่อบุคคลในครอบครัวในการดูแลอีกด้วย ผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงนอกจากจะไม่สามารถประกอบสัมมาอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้แล้วยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลอีกด้วย ซึ่งก็จะเป็นภาระของผู้อื่น ดังนั้นทุกคนจึงต้องดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ ตลอดจนควรช่วยดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวเท่าที่จะสมารถทำได้

                 การดูแลสุขภาพถือเป็นความรับผิดชอบของบุคคลทุกคน เพราะ สุขภาพเป็นเรื่องส่วนบุคคลไม่สามารถหยิบยื่นให้กันและกันได้ การที่เราจะมีสุขภาพดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการคือ พันธุกรรมสิ่งแวดล้อม คุณภาพของบริการสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล

                 พฤติกรรมสุขภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่มีผลต่อสุขภาพโดยแสดงออกให้เห็นได้ในลักษณะของการกระทำในสิ่งที่เป็นผลดีต่อสุขภาพและการไม่กระทำในสิ่งที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้น เราจึงควรมีบทบาทความรับผิดชอบในการดูแลรักษาสุขภาพตนเอง โดยการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในมิติของสุขภาพทั้ง 4 ด้านให้สอดคล้องกับนโยบายเมืองไทยแข็งแรง ดังนี้

1. มิติทางกายมีร่างการแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น ไม่ตายก่อนวัยอันควร เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้น สามารถกลับคืนได้รวดเร็ว สามารถเข้าถึงบริการทางแพทย์และ สาธารณสุขได้

                 2. มิติทางจิตใจ มีจิตใจดี มีความสุข ไม่เครียดและรู้จักวิธีจัดการกับความเครียด

                 3. มิติทางสังคม มีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขมีสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่ดี มีอาชญากรรมและความรุนแรงน้อย

                 4. มิติด้านปัญญา หรือจิตวิญญาณมีจิตใจที่เปี่ยมสุขเข้าถึงความดีงามถูกต้องมีจิตใจดี มีเมตตากรุณา และเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล

                 แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน

                 ในการส่งเสริมสุขภาพชุมชน มีหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุ สร้างทักษะให้บุคคล ชุมชน สังคม สามารถดูแลสุขภาพของตนองได้ในการดำเนินชีวิตยามปกติและเมื่อเกิดการเจ็บป่วย เราจึงควรรู้จักและมีส่วนร่วมกับหน่วยงานดังกล่าว รวมทั้งปฏิบัติตามแนวทางสร้างเสริมสุขภาพชุมชน ดังนี้

                 1. การสร้างเสริมสุขภาพกาย เป็นการปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

                 2. การสร้างเสริมสุขภาพจิต เป็นการปฏิบัติตัวเพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตให้มีจิตใจที่ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีอารมณ์แจ่มใส มีสติ สามารถจัดการกับความเครียดได้โดยการมองโลกในแง่ดี ฝึกคิดในทางบวก รู้จักวิธีการจัดการความเครียด

                 3. การสร้างเสริมสุขภาพทางสังคม สามรถทำได้โดยมีส่วยร่วมในการสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและสังคมที่เหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพและจิตใจ

                 4. การสร้างเสริมสุขภาพทางปัญญา หรือจิตวิญญาณ ทำได้โดยการยึดมั่นในหลัก ศาสนา และวัฒนธรรมที่ดีงาม ลด ละ เลิกพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

อ้างอิง

https://sites.google.com/site/khruxeuxngthpniy/sukhsuksa-m-5

http://www.kuukob.com/backup/kuukob/project_web/14348_54/page4.html

https://sites.google.com/site/supachainamphan/rabb-khab-thay

http://hapound.blogspot.com/2010/08/blog-post_31.html

https://sites.google.com/site/sukhsuksam4/home/bth-thi-1-rabb-xwaywa-khxng-rangkay

อ้างอิง

https://sites.google.com/site/khruxeuxngthpniy/sukhsuksa-m-5

http://www.kuukob.com/backup/kuukob/project_web/14348_54/page4.html

https://sites.google.com/site/supachainamphan/rabb-khab-thay

http://hapound.blogspot.com/2010/08/blog-post_31.html

https://sites.google.com/site/sukhsuksam4/home/bth-thi-1-rabb-xwaywa-khxng-rangkay

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ รู้จักสิทธิผู้บริโภค

 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

                              เรื่อง สิทธิผู้บริโภค

http://www.thaibizchina.com/upload/iblock/474/

ความหมายของการบริโภคและผู้โภค

ผู้บริโภคหมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอ หรือการชักชวน จากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับ บริการ  และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้า หรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

 

สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค

ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ารัฐบาลและเอกชน ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้ประชาชน ในฐานะผู้บริโภค ได้รู้จักคุ้มตรองสิทธิของตนเอง โดยไม่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ที่ต้องทนอยู่ในภาวะจำยอมไปโดยตลอด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลหรือเอกชนฝ่ายเดียวย่อมไม่อาจดำเนินการ ให้สำเร็จไปได้ด้วยดี ผู้บริโภคเป็นกลุ่มคนที่สำคัญ ในการที่จะคุ้มตรองสิทธิของตนเอง อย่างไรก็ตามเราพบว่ามีผู้บริโภคจำนวนมากที่ละเลย เพิกเฉยที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเอง แม้ว่าจะถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคสินค้า ในลักษณะและรูปแบบต่างๆ ที่มักเป็นปัญหาของผู้บริโภค

 

 

สิทธิผู้บริโภค

ผู้บริโภคต้องมีความรอบคอบฉลาดในการตรวจสอบแสดงสินค้า คุณภาพปริมาณ และราคาว่ายุติธรรม สมควรซื้อมาบริโภคหรือไม่ อาจสำรวจสินค้าชนิดเดียวกันจากหลายๆร้าน  โดยไม่เชื่อข้อความโฆษณาทันที แต่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า ว่าจริงตามที่โฆษณาไว้หรือไม่

–         สิทธิจะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนา คุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอกับสินคและบริการ

–         สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

–         สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ

–         สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมทางสัญญา

–         สิทธิที่จะได้รับความพิจารณา และชดเชยความเสียหาย

สิทธิผู้บริโภคสากล ถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธุ์ผู้บริโภคซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.. 2503 ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์มี 8 ประการดังนี้

–         สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย

–         สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร

–         สิทธิที่จะได้รับเครื่องมืออุปโภคบริโภคในราคายุติธรรม

–         สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม

–         สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยความเสียหาย

–         สิทธิที่จะได้รับบริโภคศึกษา

–         สิทธิที่จะได้รับความจำขั้นพื้นฐาน

–         สิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด

 

แนวทางการเลือกบริโภคอย่างฉลาดและปลอดภัย

1.ก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์  สินค้า  และบริการสุขภาพ  ผู้บริโภคต้องสามารถแยกความต้องการของตัวเองได้  ว่าเป็นความต้องการแท้  อะไรเป็นความต้องการเทียม  แล้วพิจารณาในการเลือกซื้อให้ดีเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

2.สิ่งที่ควรคำนึงก่อนเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทุกชนิด ควรศึกษาฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง  อย่างน้อยต้องมีฉลากภาษาไทย  ชื่อของผลิตภัณฑ์และที่ตั้งของผู้ผลิต  หรือ  ผู้แทนจำหน่าย  วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ  สำหรับผลิตภัณฑ์บางชนิดจะมีการแสดงส่วนประกอบหรือตำหรับ  วิธีบริโภค  ข้อควรระวังในการใช้หรือข้อจำเพราะอื่นๆ  ของแต่ผลิตภัณฑ์เพิ่มด้วย  หากเราอ่านฉลากจะมีประโยชน์ช่วยให้เราทราบผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องสามารถหลีกเลียงสารบางชนิดที่ทำให้เกิดการแพ้เกิดปัญหาในการบริโภค  เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติให้ตรงตามความต้องการได้  นอกจากนั้นในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องจากผลิตภัณฑ์สามารถร้องเรียนให้มีการดำเนินต่อผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายได้ตามชื่อและที่อยู่ที่ปรากฏในฉลากด้วยหลังซื้อสินค้าหรือบริการเราจะต้องเก็บรักษาหลักฐานต่างๆ  เช่น  เอกสารโฆษณา  บิลเงินสด  สำเนาใบเสร็จรับเงิน  สัญญาซื้อขายเพื่อไว้ทำการเรียกร้องสิทธิของตนและควรจดชื่อสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้เพื่อประกอบการร้องเรียนในกรณีถูกละเมิดสิทธิ

3.ในการซื้อผลิตภัณฑ์  สินค้าหรือบริการสุขภาพจะต้องมีความระเอียดในความพิจารณาถึงประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากสินค้าและบริการให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ  อย่าให้เสียเปรียบผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ

4.ถ้าพบว่ามีผลิตภัณฑ์  สินค้าหรือบริการสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทันที่  เพื่อจะได้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

5.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์  สินค้าและบริการที่สุขภาพได้มาตรฐาน  หรือมีการรับรองคุณภาพกล่าว  คือ  มีเครื่องหมาย มอก. หรือมี  อย. เป็นต้น

6.ถ้าได้รับความไม่เป็นธรรม  ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการให้ร้องเรียนได้ที่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค

การปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภค

     ผู้บริโภคควรคำนึงถึงบทบาท  หรือหน้าที่ในการปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภคที่พึงกระทำด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้ผู้บริโภคจะได้มีส่วนได้รับผิดชอบในการคุ้มครองสิทธิของตนเอง  โดยมีการปฏิบัติดังนี้

1.การรวมกลุ่มหรือการรวมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองเมื่อได้รับความเดือดร้อนหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ  หรือประสบปัญหาจากการบริโภค จึงทำไห้ผู้บริโภครวมตัวกันก่อไห้เกิดพลังของผู้บริโภคขึ้นในการเคลื่อนไหวหรือต่อรอง  ซึ้งพลังของผู้บริโภคนี้จะทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวในการใช้สิทธิและการรักษาผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ

2.ศึกษาหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต  วิทยุ  โทรทัศน์  วารสารหรือหนังสืออื่นๆ  เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคเพื่อให้มีความรู้และความรอบคอบในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ

3.มีส่วนในการเผยแพร่ความรู้และรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสามารถทำได้หลายรู้แบบ  เช่น  การพูดคุย  การชี้แจง  ประชาสัมพันธ์  การใช้เสียงตามสายหอกระจายข่าว  ประชาชนผู้บริโภคหรือเด็กนักเรียน  เยาวชนผู้บริโภคทุกคนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ได้ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้  เลือกซื้อสินค้าและบริการอย่าปรอดภัย  เป็นธรรมและประหยัด  เช่น  กิจกรรม  อย.น้อย  เป็นกิจกรรมที่ทำไห้นักเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและช่วยเหลือผู้อื่น  เช่น  เพื่อน  ครอบครัว  ชุมชน  ด้วยการไห้ความรู้ทางด้านบริโภคอย่างเหมาะสม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

1.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  สำนักงานนายกรัฐมนตรี  มีอำนาจหน้าที่รับแของผู้บริโภค  ที่ไห้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากผู้ประกอบการธุรกิจ  สอดส่องพฤติการณ์  และดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค  แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคไห้ผู้บริโภค

2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่กำกับดูแลการผลิต  การจำหน่ายและโฆษณาต่างๆ ได้แก่  อาหาร  เครื่องสำอาง  วัตถุอันตราย  ยา  เรื่องมือแพทย์  และวัตถุเสพติดไห้โทษ  ไห้เป็นไปตากฎหมาย

3.กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข  โดยกองโภชนาการมีหน้าที่จัดทำเกณฑ์มาตรฐานด้านโภชนาการและไห้คำปรึกษาแนะนำวิชาการด้านโภชนาการ

4.กรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ควบคุมสินค้าไห้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและไม่ไห้ผู้บริโภคเสียเปรียบ

5.กรมทะเบียนการค้า  กระทรวงพาณิชย์  มีหน้าที่ควบคุมปริมาณ การชั่ง  ตวง  และวัดสินค้า

6.กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน

7.สำนักงานมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  มีหน้าที่กำหนดและติดตามตรวดสอบมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม

8.กรมวิชาการเกษตร  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  มีหน้าที่ควบคุมวัตถุมีพิษทางการเกษตร

9.คณะอนุกรมการคุมครองผู้บริโภคประจำจังหวัด  มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากผู้บริโภค

ถ้าผู้บริโภคได้รับความไม่เป็นธรรม  ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย  อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบการ  ผู้บริโภคสามารถไปแจ้งตามหน่วยงานต่างๆ  ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องนั้นๆทั้งนี้  เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตนที่พึงมีตามกฎหมาย

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ เพศกับวัฒนธรรมไทย

บทที่ 4 เพศกับวัฒนธรรมไทย

หน่วยการเรียนรู้ 4 เพศกับวัฒนธรรมไทย

https://encrypted-tbn0.gstatic.com/

                                                            ค่านิยมในเรื่องเพศ

ค่านิยม หมายถึง  ความรู้สึกนึกคิด  การให้คุณค่าหรือเชื่อถือที่มีต่อสิ่งหนึ่งค่านิยมทางเพศจึงเป็นเรื่องของความรู้สึกการให้คุณค่า  ดังนั้น  วัยรุ่นจึงให้ความสนใจและทำความเข้าใจในเรื่องเพศและค่านิยมทางเพศ

1.เรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์

นักเรียนจะเห็นได้ว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคนตั้งแต่กำเนิด  ดังนั้นเรื่องเพศจึงไม่ใช่เรื่องนารังเกียจหรือเลวร้ายไม่สามารถนำมาสนทนาได้แต่เราควรกล่าวในทางสร้างสรรค์  หลีกเลี่ยงในการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศหรือ  ในทางลามกอนาจาร

2.เพศชายและเพศหญิงและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันตามหลักสิทธิมนุษยชน

ในอดีตสงคมไทยให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง  เพราะบทบาทในการประกอบสัมมาอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวนั้นส่วนใหญ่เป็นของฝ่ายชาย  ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของบ้าน  จัดเตรียมอาหาร  ดูแลบุตร  แต่ในปัจจุบันเพศหญิงมีโอกาสในการได้รับการศึกษา  การประกอบอาชีพและสถานภาพทางสังคมเท่าเทียมกับเพศชาย  ดังนั้น  เราจึงควรเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของตนเองเช่นเดียวกับการเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของเพศตรงข้าม

 

 

3.ค่านิยมทางเพศอาจแตกต่างกันไปตามสภาพสังคม  ประเพณี  และ  วัฒนธรรม

นักเรียนจะเห็นได้ว่าในแต่ละสังคมจะมีขนบธรรมเนียม  ประเพณี  ความเชื่อ  วิถีการดำเนินชีวิตและองค์ประกอบอื่นๆ  ของสงคมที่แตกต่าง  เนื่องจาบุคคลในสังคมก็มีความแตกต่างกัน  รวมทั้งค่านิยมในเรื่องเพศค่านิยมบางอย่างอาจมีความเหมาะสมกับอีกสงคมหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกสังคมหนึ่ง  ดังนั้นการจะรับค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมอื่นมาใช้ต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ  ว่าค่านิยมนั้นเหมาะสมและเป็นการยอมรับของสังคมไทยหรือไม่

4.ในสังคมเดียวกันอาจมีความเชื่อ  ค่านิยมทางเพศ  และการแสดงออกในเรื่องเพศที่แตกต่างกัน

การที่คนเรามีความแตกต่างระหว่างบุคคล  รวมทั้งมีการอบรมจากครอบครัว  มีสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ทางเพศที่ต่างกัน  ทำให้บุคคลมีการแสดงออกทางเพศที่ต่างกัน  ดังนั้นนักเรียนควรใช้วิจารณญาณในการปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่เหมาะสม

5.การแสดงออกของการกระตุ้นทางเพศของมนุษย์

แต่ทุกคนมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นดังกล่าวให้เหมาะสมกับตน  เช่น  ในบุคคลที่ยังไม่สมรสก็ไม่ควรตอบสนอกการกระตุ้นโดยการมีเพศสัมพันธ์  เนื่องจากก่อให้เกิดผลกระทบตามมา  เช่น  ตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ตามมา  การเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ซึ่งก็จะทำให้ตนเองและครอบครัวเกิดความเดือดร้อนและเป็นทุกข์  จึงควรหาทางออกที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหา   เช่น  การเบี่ยงเบนความสนใจ   เช่น  การเล่นกีฬา

6.ปฏิบัติตนเกี่ยวกับเรื่องเพศและมีพฤติกรรมทางเพศทางเพศควรสอดคล้องกับจารีตประเพณีของสังคม

ในสังคมทุกสังคมจะมีข้อกำหนดหรือแนวทางปฏิบัติตนในเรื่องเพศตามธรรมนองครองธรรม  เพื่อความดีงามและความสงบเรียบร้อยของสังคม  เช่น  ในสังคมไทยจะมีสำนวนโวหารที่แสดงถึงค่านิยมทางเพศที่ดีในสังคม  เช่น การรักนวลสงวนตัวเข้าตามตรอกออกตามประตู  เป็นต้น

7.ควรตระหนักว่าเรื่องเพศนั้นมีความเกี่ยวข้องกับชีวิต

และมีความหมายกว้างขวางเกี่ยวกับคนเราในหลายมิติ  ทั้งด้านเสรีวิทยา  สังคมวิทยา  จิตวิทยา  และจริยธรรมเรื่องเพศมิได้หมายความว่าเฉพาะเรื่องระบบสืบพันธุ์และการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น

8.การมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาทางเพศ

การมีพฤติกรรมทางเพศที่เกินวัยจะก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบตามมาหลายประการ เช่น นักเรียนหญิงที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนควรหลีกเลี่ยงการแต่งกายที่รัดรูปหรือเปิดเผยจนเห็นสัดส่วนอย่างชัดเจน เช่น การใส่เสื้อเอวลอย สวมกระโปรงหรือกางเกงเอวต่ำจนเกินไป การนุ่งสั้นหรือใส่เสื้อเกาะอก เพราะการแต่งตัวเช่นนี้เป็นการยั่วยุอารมณ์และอาจก่อให้เกิดปัญหาทางเพศตามมา

ค่านิยมเรื่องเพศและวัฒนธรรมไทย

ประเทศไทยตั้งแต่ซีกโลกตะวันออก เป็นประเทศที่มีคำนบประเพณีธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพัวมาช้านานโดยเฉพาะค่านิยมเรื่องเพศ ซึ่งสามารถจำแนกได้สองมุมมอง ดังนี้

1.ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง

–         การรักนวลสงวนตัว

–         การเข้าตามตรอก ออกตามประตู

–         การมีรักเดียวใจเดียว

–         การไม่ชิงสุกก่อนห่าม

–         ชายไทยต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว

2.ค่านิยมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง

–  การพูดหรือสื่อสารในเรื่องเพศเป็นเรื่องหยาบคาย หรือ น่าอับอาย

–  การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศ

   –  การยกย่องให้คุณค่าเพศชายเหนือกว่าเพศหญิง

   การใช้ถุงยางอนามัยถูกตีค่าในด้านลบว่าเป็นการไม่ไว้ใจกัน

ค่านิยมเรื่องเพศในสังคมตะวันตก

–         การนัดพบหรือการออกเดท [Dating]

–         การทดลองอยู่ด้วยกัน

–         การแสดงออกความรักใคร่อย่างเปิดเผย

พฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย

ในสังคมไทยปัจจุบันขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมยังคงเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิต และมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ สำหรับสังคมไทยถือว่าความบริสุทธิ์ และการไม่มีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงาน เป็นสิ่งที่ดีงามตามวัฒนธรรมไทย ดังนั้นการวางตัวต่อเพศตรงข้าม ในระหว่างที่คบหาสมาคมกัน เป็นเรื่องสำคัญที่นักเรียนต้องให้ความสนใจ การวางตัวอย่างเหมาะสม เช่น

การแสดงพฤติกรรมของเพศหญิงนั้นจะต้องทำตัวให้เพศชายยกย่อง และให้เกียรติ โดยฝ่ายหญิงจะต้องเข้าใจว่า การที่ผู้หญิงกล้าเกินไป ไม่ถือเนื้อถือตัวและให้ความสนิทสนมกับผู้ชายมากๆ เท่ากับเป็นการเปิดโอกาศให้ผู้ชายสามารถล่วงเกินได้ง่ายขึ้น การวางตัวที่ดีและระมัดระวังตัวไม่ปล่อยให้สนิทสนมกับใครๆ โดยง่ายขึ้น เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งสำหรับกุลสตรี ซึ่งผู้ชายโดยทั่วไปมักจะให้ความยกย่องนับถือ หรือภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเขาได้มีโอกาศแต่งงานกับผู้หญิงที่มีลักษณะนี้ ในทางเดียวกัน ผู้ชายที่ดีหรือมีความเป็นสุภาพบุรุษนั้น  จะต้องให้เกียรติและยกย่องสุภาพสตรี การวางตัวต่อเพศตรงข้าม ที่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมไทยนั้น ควรปฏิบัติดังนี้

–         การปฏิบัติตนของผู้ชาย

ให้เน้นที่ความเป็นสุภาพบุรุษและความมีคุณธรรมประจำใจ คือ ไม่ล่วงเกินทางกาย ไม่พูดทะลึ่ง ไม่พูดจาหลอกลวงฝ่ายหญิง วางตัวให้เหมาะสมและเป็นที่หน้าไว้ใจของฝ่ายหญิง ชายเป็นเพศที่แข็งแรงกว่าควรปกป้องฝ่ายหญิงมากกว่าการไปทำร้ายร่างกาย และ ควรช่วยเหลือฝ่ายหญิงเท่าที่ตัวเองจะทำได้ด้วย

–         การปฏิบัติตนของผู้หญิง

ให้เน้นที่ความเป็นสุภาพสตรีและรักนวลสงวนตัว มีความละอาย คือ ควรสงวนท่าที ไม่อยู่ในที่ลับตา ไม่ควรไปเที่ยงเตร่ตามลำพัง หรือกับเพศตรงข้าม ไม่ยินยอมให้ฝ่ายชายถูกเนื้อต้องตัว ในการวางตัวต่อฝ่ายชาย โดยที่ไปต้องนับถือความเป็นกุลสตรีของตัวเอง